วิกฤติเศรษฐกิจ 7 : เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐแต่ลดภาษี ?


วิกฤติเศรษฐกิจ วิกฤติเศรษฐศาสตร์ 7

เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐแต่ลดภาษี ?

ช่วงที่ประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์(Herbert Hoover)ออกมาแถลงผลงานประจำปีในปี 1930 นั้น สหรัฐอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งหายนะครั้งใหญ่ทางเศรษฐกิจมาแล้ว 1 ปี แถลงการณ์ของประธานาธิบดีฮูเวอร์ในวันนั้นฮูเวอร์ได้เน้นย้ำอย่างชัดเจนว่า “เศรษฐกิจตกต่ำนั้นไม่สามารถเยียวยารักษาให้หายได้ด้วยการออกกฎหมายหรือการ ออกแถลงการณ์ ประกาศหรือคำสั่งต่างๆของฝ่ายบริหาร และบาดแผลที่เกิดจากพิษภัยทางเศรษฐกิจนี้จะสามารถเยียวยารักษาให้หายได้ก็ ด้วยการแสดงบทบาทของตัวเองของแต่ละภาคส่วน องคาพยพ ในระบบเศรษฐกิจทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค” ฮูเวอร์แนะนำว่า”แต่ละคนจะต้องคงศรัทธาและความกล้าหาญเอาไว้”และ”แต่ละคนจะ ต้องรักษาความเชื่อมั่นในตนเองเอาไว้ให้ได้”

ขอบคุณสำหรับคำกล่าวเช่นนี้ ฮูเวอร์ยังคงเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่แสดงออกให้เห็นถึงความละเลยเพิกเฉย ไม่แยแสสนใจ ไม่ยอมทำอะไรเลยของภาครัฐ แต่ในความเป็นจริงนั้นกลับมีอะไรที่สลับซับซ้อนมากไปกว่านั้น และน่าสนใจมากด้วย ในแถลงการณ์ที่เหมือนกันเป็นอย่างมาก ฮูเวอร์ชี้ให้เห็นว่าการใช้จ่ายในโครงการสาธารณะต่างๆจะถูกพับเก็บไว้ก่อนใน ช่วงที่เศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ขาลง ในช่วงเวลาเช่นนี้ฮูเวอร์กล่าวรายงานด้วยความภาคภูมิใจ ชาติ รัฐ และรัฐบาลท้องถิ่นจะใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างรอบคอบในการปรับปรุงโครงสร้าง พื้นฐานทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นการให้น้ำหนัก เป็นการดำเนินการที่ผิดพลาด นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ความเป็นจริงแล้วฮูเวอร์โวว่า”รัฐบาลกลางจะให้ความอุดหนุนช่วยเหลือใน โครงการขนาดใหญ่อย่างเช่นการทำคลองส่งน้ำ ท่าเรือ การควบคุมน้ำท่วม การก่อสร้างสาธารณะ ทางหลวง และการปรับปรุงการขนส่งทางอากาศในทุกสิ่งทุกอย่างที่สหรัฐมีอยู่” ภายใต้สิ่งนี้ “ไม่ทำอะไรเลย” ประธานาธิบดี รัฐบาลกลางจะใช้จ่ายเงินมากขึ้นเป็น 2 เท่าในแต่ละโครงการ

แม้ฮูเวอร์จะสนับสนุนการใช้จ่ายบ้าง แต่ฮูเวอร์ก็ยังคงเชื่อเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มการใช้จ่ายของ ภาครัฐไม่มากนัก ฮูเวอร์แถลงว่า”ช้าพเจ้าไม่สามารถให้การส่งเสริม สนับสนุนอย่างเข้มแข็งเกินไปได้ แต่จำเป็นอย่างถึงที่สุดที่จะต้องคล้อยตามแผนการอื่นๆเพื่อเพิ่มการใช้จ่าย ของภาครัฐ” แต่ฮูเวอร์ก็ยังคงดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจอย่างเข้มงวด งบประมาณรายจ่ายของภาครัฐยังคงต้องอยู่ภายใต้กรอบการจัดทำงบประมาณแบบสม ดุลย์ ข้อความที่ฮูเวอร์บ่งบอกออกมานั้นชัดเจนในตัวอยู่แล้วว่าเขาจะไม่ยอมให้เกิด การขาดดุลย์งบประมาณอย่างแน่นอน

ฮูเวอร์จอมตืดกำลังยืนอยู่บนจุดเปลี่ยนสำคัญทางประวัติศาสตร์ของวิกฤติเศรษฐกิจ แถลงการณ์ของฮูเวอร์แสดงให้เห็นว่าเขากำลังตกอยู่ภายใต้กับดับหลุมพรางจาก ความไม่รู้ คือไม่รู้ว่าจะเลือกบริหารจัดการวิกฤติครั้งนี้อย่างไร ด้วยวิธีการแบบไหน 2 วิธีที่มีการนำเสนอขึ้นมานั้นแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว หนึ่งคือการมองย้อนกลับไปยังอดีตแล้วสั่งให้ทุกคนอดทนข่มกลั้น ทำงบประมาณแบบสมดุลย์ต่อไป กับอีกหนึ่งวิธีการซึ่งกลายเป็นวิถีแห่งอนาคต คลื่นลูกใหม่กระแสใหม่คือให้ทำงบประมาณแบบขาดดุลและทำโครงการสาธารณะขนาด ใหญ่ ฮูเวอร์มองเห็นแนวโน้มของอนาคตข้างหน้า แต่เขาก็ยังคงยึดติดอยู่กับอดีต เขาต้องการประนีประนอมกับทั้ง 2 วิธีการที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วนี้เพื่อความมั่นใจของตนเอง เพื่อให้ภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และเพื่อรักษาวินัยทางการเงินการคลังไปพร้อมๆกัน ซึ่งทั้งหมดนี้มันทำพร้อมกันไม่ได้ มันไปด้วยกันไม่ได้เลย

6 ปีหลังจากฮูเวอร์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ก็ได้บัญญัติหลักการใหม่ที่มีความชัดเจนขึ้นมาว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่จะ เกิดขึ้นครั้งใหม่ในอนาคตนั้น รัฐบาลจะต้องใช้นโยบายการเงินเป็นเครื่องมือเพื่อลดแรงกระแทกให้กับระบบ เศรษฐกิจด้วยการเร่งการใช้จ่ายภาครัฐ หากเศรษฐกิจมีการขยายตัวเพียงเล็กน้อยก็จะต้องลดภาษี ซึ่งนโยบายการเงินในลักษณะดังกล่าวส่งผลให้รัฐต้องทำงบประมาณแบบขาดดุล นโยบายทางเศรษฐกิจแบบเดิมๆที่รอให้เศรษฐกิจเยียวยารักษาตัวเองนั้นก็เท่ากับ ว่าเรายอมให้คนไข้ทนอยู่กับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ต้องทนอยู่กับมันโดยที่ไม่มีใครยอมลงไม้ลงมือทำอะไรเลย ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาล้วนแต่อาศัยพึ่งพานโยบาย การเงินเป็นเครื่องมือทั้งสิ้นในยามที่เศรษฐกิจเป็นขาลง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเหตุให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจตามมาหรือไม่ก็ตาม

หากฮูเวอร์ยืนอยู่ในช่วงรอยต่อทางประวัติศาสตร์ของนโยบายการเงินแล้ว เราเองก็อาศัยอยู่ในโลกอีกยุคหนึ่งเช่นกัน เครื่องมือของเคนส์เติบโตขยายตัวจากเครื่องมือเล็กๆที่เชื่อถือไว้ใจได้กลาย เป็นชุดของเครื่องมือที่มีลำดับกระบวนการในการใช้งานที่สลับซับซ้อนที่ภาค รัฐใช้ในการแทรกแซงเศรษฐกิจ ในสหรัฐอเมริกาและอีกหลายๆประเทศ ภาครัฐไม่เพียงแต่ใช้จ่ายเงินในงานสาธารณะเพื่อส่วนรวมเท่านั้น แต่กลับใช้เงินงบประมาณเพื่อวัตถุประสงค์อื่นด้วย อย่างเช่น การค้ำประกันเงินกู้ให้กับภาคธนาคาร ค้ำประกันหนี้ ค้ำประกันเงินฝาก นอกจากนี้ภาครัฐยังใช้เงินภาษีของประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นเจ้าของ ผู้ถือหุ้นที่มีบทบาทสำค้ญในอุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และธนาคารยักษ์ใหญ่ด้วย นโยบายการเงินค่อยๆพัฒนาความซับซ้อนและวิธีการที่ละเอียดละออในการทำงาน นโยบายการเงินกลายเป็นเทคนิค กลอุบายสำคัญ และมีมูลค่าสูงมากสำหรับภาครัฐ

ผู้กำหนดนโยบายในบุคนี้สมัยนี้พบว่าตัวเองกำลังแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆคล้ายๆกับ ที่ฮูเวอร์ต้องทำ ต้องเผชิญ พวกเขาต้องการที่จะลดภาษีและเพิ่มการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อประคับประคองตลาด แรงงานและเพิ่มกำลังซื้อและการการผลิตสินค้า แต่หลายรัฐบาลมาแล้วก็ได้ใช้วิธีการขาดดุลงบประมาณจำนวนมหาศาลนี้ไปแล้ว ส่งผลให้หนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มสูงขึ้นจนเกินระดับที่ภาครัฐจะสามารถ แบกรับภาระต่อไปได้ พวกเขาจึงต้องอาศัยการบีบบังคับแบบฮูเวอร์ “ผู้ผลิตและผู้บริโภค”ให้ช่วยเหลือตัวเอง แต่ก็ยังคงให้ความช่วยเหลือทางการเงินด้วยการใช้จ่ายเงินงบประมาณจำนวน มหาศาลยิ่งกว่าที่เคยมีมา และขณะที่พวกเขาต้องการประคับประคองระดับของความเชื่อมั่นเอาไว้ไม่ให้ตกต่ำ จนถึงขีดที่เป็นอันตรายต่อระบบเศรษฐกิจพวกเขาก็ต้องช่วยกันประคับประคองภาค ครัวเรือน สถาบันการเงิน และบรรษัทเอกชนต่างๆด้วยการกระตุ้น จูงใจสารพัดวิธีซึ่งนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจขั้นที่ 1

ในระยะสั้นก็มีการโต้เถียงกันบ้างเกี่ยวกับเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่ใช้ในนโยบาย การเงินแห่งศตวรรษที่ 21 ว่าสถานการณ์อันยากลำบากที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างช่วงเวลา ที่ฮูเวอร์ต้องเผชิญ วิธีการแบบเดิมๆที่เคยทำกันมานั้นใช้ไม่ได้ในยุคปัจจุบันซึ่งมีข้อมูลข้อ เท็จจริงที่กำลังค่อยๆปรากฏขึ้นมาให้เราใด้เห็นกันแล้วทีละเล็กทีละน้อย

นโยบายทางการคลังที่ภาครัฐนิยมใช้

จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ คือนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญคนแรกที่เสนอให้รัฐบาลใช้อำนาจที่มีอยู่ในมืออย่าง เช่นมาตรการทางด้านภาษีและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐมาเป็นเครื่องมือ ที่ใช้สำหรับพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่กำลังย่ำแย่ให้กลับกลายดีขึ้น บทวิเคราะห์ของเคนส์เป็นไปอย่างเรียบง่ายและตรงไปตรงมาว่าในช่วงที่เศรษฐกิจ เป็นขาลงนั้นความต้องการซื้อสินค้าและบริการนั้นได้ลดลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำ กว่าปริมาณสินค้า ผู้ประกอบการจึงต้องลดกำลังการผลิตลงส่งผลให้คนตกงานเพิ่มมากขึ้น วิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นเคนส์สรุปว่าวัฎจักรที่ กำลังดำเนินอยู่ในห้วงขณะเวลานั้นภาครัฐไม่สามารถปล่อยให้ดำเนินไปตาม ยถากรรมได้เพราะวิกฤติจะลุกลามขยายวงกว้างขึ้น สถานการณ์มีแต่จะเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ และเมื่อสถานการณ์อันเลวร้ายนี้ได้ดำเนินต่อไปจนถึงจุดๆหนึ่งเศรษฐกิจก็จะ พังพินาศ ความกลัวที่มีแต่จะเพิ่มขึ้นในจิตใจของผู้ประกอบการและผู้บริโภคจะบีบคั้น บังคับจิตใจคนให้รัดเข็มขัด ประหยัดค่าใช้จ่ายจนเกินเหตุไป ต่างคนต่างประหยัดเพราะรายได้มีแต่จะลดลงเรื่อยๆและบรรยากาศทางเศรษฐกิจอัน น่าสลดหดหู่ที่แผ่ปกคลุมไปทั่ว ดังนั้นจึงเกิดแรงงานส่วนเกินขึ้น โรงงานไร้ซึ่งการผลิต กำลังซื้อที่ลดลงก็ลดลงแล้ว ลดลงอีก สภาพการจ้างงาน การผลิต และราคาสินค้าที่ดำเนินไปนำไปสู่ภาวะเงินฝืดทำให้เศรษฐกิจเกิดการชะงักงัน อย่างต่อเนื่องยาวนาน

เคนส์เชื่อว่าเศรษฐกิจไม่ สามารถฟื้นตัวได้ด้วยตัวเอง รัฐบาลจึงต้องเข้ามามีบทบาททั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อขจัดปัญหาที่เกิดขึ้น จากกำลังซื้อและกำลังการผลิตที่อ่อนแอทำให้เกิดผลผลิตส่วนเกินขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจกลับมามีเสถียรภาพและขยายตัวได้อีกครั้งรัฐบาลจำเป็นต้อง ขาดดุลงบประมาณเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศก่อนที่เศรษฐกิจจะต้อง เผชิญกับหายนะ และเมื่อช่วงเวลาอันเลวร้ายได้ผ่านพ้นไปแล้วรัฐบาลก็จะต้องกลับมาทำงบประมาณ ให้คืนสู่ภาวะสมดุลขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในความเป็นจริงนั้นเคนส์เองก็มีความเชื่อว่าหากรัฐบาลกลับมาใช้นโยบายการ เงิน-การคลังที่เข้มงวดอีกครั้งหนึ่งก่อนถึงเวลาอันควรก็เท่ากับว่ารัฐบาล กำลังบีบคั้นภาวะเศรษฐกิจที่กำลังดีวันดีคืนให้สะดุด เกิดภาวะชะงักงันขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

เคนส์นำเสนอแนว คิดของเขาเป็นครั้งแรกในปี 1936 โดยแนะนำให้รัฐบาลดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจตามคำแนะนำของเขา เริ่มจากฮูเวอร์ทดลองทำตามข้อเสนอของเคนส์และสิ้นสุดที่ New Deal ของรูสเวลท์ โครงการสาธารณะทั้งเล็กและใหญ่เกิดขึ้นเพื่อให้ประชาชนกลับมามีงาทำกันอีก ครั้งหนึ่ง ความต้องการสินค้าและบริการปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง งานก่อสร้างจำนวนมากที่ดำเนินการในช่วงนั้นยังคงดำรงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ เป็นเรื่องที่น่าประทับใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น คลองส่งน้ำยาว 24,000 ไมล์ สนามบิน 480 แห่ง สะพาน 78,000 สะพาน โรงพยาบาล 780 โรง ทางหลวง 572,000 ไมล์ โรงเรียนอีก 15,000 แห่ง ศาล และอื่นๆอีกมากมาย

ผล ที่เกิดขึ้นจากการนำนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของเคนส์มาใช้นั้นราวกับเรื่องราว ปาฏิหาริย์อันน่าอัศจรรย์ใจ จากปี 1933 – 1937 ตัวเลขการว่างงานลดลงจากร้อยละ 25 เหลือร้อยละ 15 ปี 1937 เมื่อรัฐบาลตัดสินใจทำงบประมาณแบบสมดุลย์อีกครั้งหนึ่งเศรษฐกิจที่กำลังดี วันดีคืนก็กลับสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรงอีกครั้ง รูสเวลท์จึงต้องกลับมาทำงบประมาณแบบขาดดุลกันต่อไป กลับมากระตุ้นการใช้จ่ายผ่าน New Deal อีกครั้งหนึ่ง จากนั้นก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลจำเป็นต้องขาดดุลงบประมาณจำนวนมหาศาลอย่างที่ไม่อาจหลีก เลี่ยงได้ สหรัฐอเมริการอดพ้นจากการตกเป็นเหยื่อของ the Great Depression อันยืดเยื้อยาวนานไปได้ เศรษฐกิจของสหรัฐกลับมาขยายตัวอีกครั้ง

เคนส์ กลายเป็นนักเศรษฐศาสตร์ผู้ทรงอิทธิพลในยุคหลังสงครามโลกขึ้นมาทันที ทฤษฎีของเคนส์ไม่เพียงแค่ได้กลายเป็นมาตรฐานการดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจของ ภาครัฐเมื่อเผชิญภาวะเศรษฐกิจขาลงเท่านั้น แต่ยังมีการนำทฤษฎีเคนส์มาใช้ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างอ่อนแอเปราะบาง ด้วย ทศวรรษที่ 1970 เริ่มมีเสียงคัดค้านทฤษฎีเคนส์ แต่เมื่อกาลเวลาล่วงเลยมาจนถึงต้นทศวรรษที่ 1990 ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่นแตก ทฤษฎีเคนส์ก็ถูกปัดฝุ่นนำกลับขึ้นมาใช้ใหม่ แล้วก็ยังคงได้ผลสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจกลับคืนมาได้อีกครั้งหนึ่ง รัฐบาลญี่ปุ่นไม่เพียงแค่กำหนดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนับสิบมาตรการเท่านั้น แต่รัฐบาลญี่ปุ่นยังทุ่มเงินงบประมาณนับล้านล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจด้วย ตัวเลขการขาดดุลงบประมาณของญี่ปุ่นพุ่งทะยานทุบทำลายสถิติ เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นเลิกใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจหลายอย่างของญี่ปุ่นก็ดีขึ้น แต่ก็มีอีกหลายมาตรการที่ไปแล้วเกิดความสูญเปล่า ภาคชนบทของญี่ปุ่นเองก็ถูกละเลยมองข้ามไป นักเศรษฐศาสตร์ยังคงถกเถียงกันเรื่องมาตรการอันเลวร้ายและประโยชน์ที่ ญี่ปุ่นได้รับจากการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในครั้งนั้น หลายคนเชื่อว่าความล้มเหลวที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้มาจากวิธีคิดของญี่ปุ่น แต่เกิดจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดในขั้นตอนการเลือกเฟ้นโครงการว่าจะดำเนิน โครงการอะไรบ้าง ตัวเงินจริงๆที่รัฐบาลญี่ปุ่นใส่ลงไปในระบบเศรษฐกิจนั้นก็มีน้อยมาก แล้วเม็ดเงินที่ถูกดึงกลับออกมาหลังจากดำเนินมาตรการไปไม่นานนั้นกลับมี มากกว่าเสียอีก

วิธีการแบบนี้นั้นเป็นเพียงแค่หนึ่ง ในหลายๆวิธีการในการใช้นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือที่ผู้กำหนดนโยบายสามารถ ทำได้ นอกจากการใช้จ่ายโดยตรงเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อแล้วเครื่องมือทางการคลังที่ สามารถนำมาใช้ได้ยังมีเรื่องการลดภาษีและการคืนภาษีซึ่งเป็นทฤษฏีการส่ง เสริมให้ผู้บริโภคใช้จ่ายด้วยการใส่เม็ดเงินลงไปในมือประชาชนทำให้ประชาชนมี รายได้เพิ่มมากขึ้น หรือจะพูดว่าเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ยของภาคประชาชนก็ว่าได้ แต่วิธีการแบบนี้นั้นไม่ได้มีการนำมาใช้ในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ ครั้งใหญ่ในทศวรรษ 1930 ซึ่งฮูเวอร์ใช้การเพิ่มภาษีและรูสเวลท์ก็ทำเช่นเดียวกัน แต่ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น การลดภาษีและการให้เครดิตสินเชื่อก็กลายมาเป็นส่วนเติมเต็มให้กับมาตรการทาง การคลังที่มีอยู่ให้สมบูรณ์ หลากหลายเพิ่มมากขึ้นเมื่อเศรษฐกิจเกิดการถดถอยและวิกฤติเศรษฐกิจในญี่ปุ่น ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ใช้การลดภาษีเป็น่วนหนึ่งของแนวทางตอบสนองหลังเกิด วิกฤติเศรษฐกิจ

ทางเลือกที่ 3 สำหรับมาตรการทางด้านการคลังก็คือการจ่ายเงินโอน (transfer payment) คือรัฐบาลใส่เงินลงไปในมือกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ เช่น คนจนหรือคนตกงาน มลรัฐหรือรัฐบาลท้องถิ่นที่กำลังประสบปัญหา เงินโอนนี้เป็นอีกหนึ่งนโยบายการคลังที่สำคัญยุคหลังทศวรรษที่ 1930 นับแต่มีการนำ New Deal มาใช้ มีการใส่เงินลงไปเพื่อต่ออายุ ต่อลมหายใจให้กับบรรดากลุ่มเป้าหมาย วิธีการอย่างเช่น การลดภาษีก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของ New Deal ที่มีการนำออกมาใช้รับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจและภาวะเศรษฐกิจถดถอย เงินโอนนั้นทำได้หลากหลายรูปบบไม่ว่าจะเป็นการให้เงินช่วยเหลือแก่คนตกงาน การจัดตั้งกองทุนสำหรับการฝึกอบรม พัฒนาทักษะ สร้างงาน สร้างอาชีพ

วิกฤติ เศรษฐกิจครั้งที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นอย่างมากใน 3 มาตรการทางด้านการคลังที่ได้รับความนิยม เดือนมกราคม 2008 รัฐสภาสหรัฐอนุมัติกฎหมายมูลค่า 152 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการงดเว้นการจัดเก็บภาษีส่วนบุคคลและนิติบุคคล แล้วกฎหมายว่าด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2008 (the Economic Stimulus Act of 2008) ก็ถูกบดบังด้วยกฎหมายเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการกลับมาลงทุนใหม่ ของอเมริกัน ปี 2009(the American Recovery and Reinvestment Act of 2009)ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 787 พันล้านดอลลาร์ กฎหมายทั้ง 2 ฉบับล้วนมุ่งไปยังเป้าหมายเดียวกันคือการดำเนินมาตรการทางการคลังด้วยการใช้ จ่ายเงินงบประมาณจำนวนมหาศาลของภาครัฐเพื่อให้เกิดกำลังซื้อสินค้าและบริการ และการใช้จ่ายโดยตรงในโครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและโครงการด้าน พลังงาน วงเงินรวมสูงถึง 140 พันล้านดอลลาร์ ทั้งยังมีการใช้จ่ายในโครงการอื่นๆร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นโครงการเกี่ยวกับการประมงไปจนถึงการควบคุมระบบระบายน้ำเพื่อ ป้องกันน้ำท่วมโดยมีมูลค่ากว่าพันล้านดอลลาร์

กฎหมาย ที่ออกมายังรวมถึงงบพิเศษจำนวนมหาศาลสำหรับการให้เครดิตทางภาษีและโครงการ เงินโอน แท้จริงแล้วเครดิตทางภาษีนั้นกลับเป็นโครงสร้างส่วนใหญ่ของชุดมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจที่กำหนดขึ้นโดยระงับการเก็บภาษีรายได้ส่วนบุคคลมูลค่า 237 พันล้านดอลลาร์ บางส่วนก็ถูกนำไปใช้สำหรับประชาชนบางกลุ่มอย่างเช่น การให้เครดิตทางภาษีแก่ผู้ซื้อบ้านหลังแรกและรถยนต์คันใหม่ที่เป็นแบบ fuel-efficient cars โดยมีเป้าหมายที่จำเพาะเจาะจงไปยังภาคส่วนทางเศรษฐกิจที่ต้องการเป็นการ เฉพาะ ส่วนสุดท้ายของกฎหมายก็คือการให้ความช่วยเหลือโดยตรงแก่คนว่างงาน ผู้สูงอายุ และประชาชนที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ รวมทั้งเม็ดเงินนับพันล้านดอลลาร์เพื่อช่วยเหลือแก่รัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาล มลรัฐ

ประเทศต่างๆทั่วโลกก็นำนโยบายการคลังมาใช้ใน ลักษณะคล้ายๆกันแต่ให้น้ำหนักในการดำเนินโครงการที่น้อยกว่า แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุโรปถูกนำมาใช้ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2008 เม็ดเงินจำนวน 200 พันล้านยูโรถูกนำมาใช้กับสารพัดโครงการ แต่ละประเทศต่างก็ดำเนินการเช่นเดียวกันในขนาดที่เล็กกว่า ญี่ปุ่นก็เริ่มแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ภายใต้ความสับสนวุ่นวายทางการ เมือง รัฐบาลซึ่งเป็นสถาบันการเมืองที่มีอำนาจสูงสุดใช้เงินจำนวนมากไปกับการลด ภาษีและการใช้จ่ายภาครัฐ จีนกลับทุ่มเทความพยายามที่มากกว่าด้วยวงเงินสูงถึง 586 พันล้านดอลลาร์ในโครงการสาธารณะเช่น ทางรถไฟ การชลประทาน และสนามบิน ขณะที่เม็ดเงินบางส่วนถูกนำไปใช้เพื่อการฟื้นฟูมณฑลเสฉวนหลังเกิดเหตุแผ่น ดินไหวครั้งใหญ่ ประเทศอื่นๆที่เล็กกว่าอย่างเกาหลีใต้และออสเตรเลียก็งัดมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจออกมาใช้เช่นเดียวกัน

การใช้นโยบายการคลัง เข้าแทรกแซงเศรษฐกิจนี้แน่นอนว่าช่วยสกัดยับยั้งภาวะเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำได้ แต่การแทรกแซงดังกล่าวก็ต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบระมัดระวัง แรกสุดเลยคือต้องจดจำให้ขึ้นใจว่าการนำนโยบายการคลังออกมาใช้นั้นไม่ใช่ว่า จะทำได้แบบฟรีๆโดยไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรใดๆทั้งสิ้น เมื่อรัฐบาลใช้จ่ายมากขึ้นขณะที่รายได้จากภาษีของภาครัฐกลับลดลงจากภาวะ เศรษฐกิจถดถอยนั้นย่อมส่งผลให้ตัวเลขการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงต้องก่อหนี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งที่สุดแล้วรัฐบาลก็ต้องหาเงินมาใช้หนี้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง หากรัฐไม่ยอมจ่ายคืนหนี้ การขาดดุลงบประมาณก็จะขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีๆ รัฐบาลก็ได้แต่ล่อลวงนักลงทุนกระเป๋าหนักเข้ามาซื้อหนี้ด้วยการเพิ่มอัตราผล ตอบแทนในพันธบัตรรัฐบาลให้สูงขึ้น ภาระหนี้ที่รัฐบาลจะต้องชำระจึงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ทั้งยังต้องแข่งขันกำหนดอัตราผลตอบแทนในตราสารหนี้แข่งกับผู้ออกตราสารหนี้ รายอื่นๆด้วย ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยจากการรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ สินเชื่อส่วนบุคคล หุ้นกู้ของธุรกิจเอกชน และดอกเบี้ยของลิสซิ่งต่างๆ ต้นทุนการกู้ยืมเงินของผู้ระดมทุนแต่ละรายก็จะเพิ่มสูงขึ้น จากนั้นภาคธุรกิจก็จะต้องตัดสินใจลดต้นทุนทางการเงินของตนเองลงมา ภาคครัวเรือนก็จะปรับลดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของตนเองลงมาเพราะมีภาระที่ ต้องผ่อนชำระหนี้เพิ่มขึ้น

เมื่อหนี้สาธารณะเพิ่มสูง ขึ้น รัฐบาลก็จะเริ่มอึดอัด ขยับตัวลำบาก ทำอะไรไม่ได้มากนัก อัตราดอกเบี้ยก็จะเริ่มขยับปรับตัวสูงขึ้นจากความกลัวเรื่องการผิดนัดชำระ หนี้ที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อสถานการณ์ดำเนินมาถึงขั้นนี้แล้วรัฐบาลมีทางเลือกที่จำกัดมาก ได้แต่โกงความตายด้วยการพิมพ์เงินเพิ่มเพื่อนำเงินมาใช้จ่าย มากน้อยแค่ไหนก็สุดแท้แต่ปริมาณหนี้ที่เป็นสกุลเงินท้องถิ่นที่รัฐบาลก่อไว้ ว่าจะมีมากน้อยแค่ไหนซึ่งเราเรียกวิธีการโกงความตายด้วยมาตรการทางการเงิน นี้ว่า “การบริหารหนี้ด้วยมาตรการทางการเงิน” (monetizing the deficit) กลไกนี้ก็คือมาตรการ QE (quantitative easing)ที่สหรัฐกำลังทำอยู่นั่นเอง ยกเว้นในเรื่องการซื้อหนี้กลับคืนซึ่งไม่ได้ทำให้เอาชนะเงินฝืดไปได้เลย มันเป็นเพียงแค่การซุกหนี้เอาไว้เท่านั้น มันก็เหมือนกับการโปรยหว่านเม็ดเงินออกไปไล่ซื้อสินค้าและผลักดันระดับราคา สินค้าให้เพิ่มขึ้น ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ และนั่นย่อมหมายความว่าได้ทำให้อัตราดอกเบี้ยขยับสูงขึ้นด้วย และด้วยการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้เองที่ช่วยค้ำยันเศรษฐกิจเอาไว้ไม่ให้ล้ม ครืนลงมา

มีข้อมูลบางอย่างที่บ่งชี้ให้เห็นว่าผูเสีย ภาษีจะต้องจับตา ให้ความสนใจกับความเสี่ยงนี้เป็นพิเศษ บางประเทศที่นำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใช้นั้นผู้บริโภคจะต้องตระหนัก ว่ามันจะสร้างผลประโยชน์อะไรให้กับเราได้บ้างจากมาตรการบางอย่างที่ภาครัฐ กำหนดออกมานี้ แต่ในท้ายที่สุดแล้วรัฐบาลก็จะต้องขึ้นภาษี และเมื่อเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น เราเองก็จะต้องตระหนักเอาไว้ด้วยว่าเมื่อรัฐขึ้นภาษีนั้นผู้บริโภคก็จะปรับ ลดการใช้จ่ายของตนเองลงมา การใช้จ่ายในระยะสั้นและต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในระยะยาวคือสิ่งที่เราสามารถคาด คิดคำนวณได้ล่วงหน้าว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

การ ลดภาษีถือเป็นมาตรการหลักรูปแบบหนึ่งเมื่อมีการนำมาตรการทางการคลังออกมาใช้ ในเวลาที่เศรษฐกิจเกิดปัญหา นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องการใช้จ่ายเงินภาษีของภาครัฐและการคืนภาษีซึ่งภาค ครัวเรือนสามารถนำเงินที่ประหยัดได้นี้มาฝากเก็บไว้กินดอกเบี้ยก็ได้หรือจะ นำไปชำระหนี้ก็ได้ แล้วในปี 2008 – 2009 นั้นเล่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง มาตรการทางด้านภาษีทีเกิดขึ้นจากกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนั้นส่งผลให้ผู้บริโภคได้เงินภาษีคืนมา 25 – 30 เซ็นต์ต่อการใช้จ่ายทุกๆ 1 ดอลลาร์ ส่วนที่เหลือจะถูกนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของภาคครัวเรือน ซึ่งดูเผินๆแล้วเหมือนจะเป็นมาตรการที่ดี แต่ช้าก่อน ลองมานึกทบทวนรายละเอียดจากมาตรการ QE กันดูอีกครั้งหนึ่งก็จะพบว่ามาตรการต่างๆเหล่านี้ไม่ได้ช่วยกระตุ้นกำลัง ซื้อให้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใดเลย มันเป็นการยักย้ายถ่ายเทหนี้ออกจากกระเป๋าข้างซ้ายไปไว้ในกระเป๋าข้างขวา เท่านั้นเอง หนี้ภาคเอกชนลดลงแต่หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ไม่ใช่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชาญฉลาดแต่อย่างใดเลย

แนว ความคิดเรื่องการใช้มาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนี้จึงเป็นแค่ เพียงภาพลวงตาเท่านั้นเอง ผิดกับนโยบายทางการเงิน(monetary policy)ที่ธนาคารกลางเป็นผู้กำหนดขึ้นมาตามแรงกดดันของรัฐสภาซึ่งเป็น มาตรการที่กำหนดขึ้นโดยไม่ต้องไปซ่อมสร้าง ดำเนินการอะไรใดๆให้สิ้นเปลืองงบประมาณและทรัพยากรอะไรใดๆทั้งสิ้น นโยบายเศรษฐกิจที่สมบูรณ์นั้นจะต้องทำทั้งนโยบายการเงินและการคลังให้สอด คล้องกัน ทำให้เกิดการฟื้นฟูประเทศด้วยการบูรณะ ซ่อมแซม ทำนุบำรุง ฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ชำรุดทรุดโทรม และเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต หากเราจะเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของญี่ปุ่นก็จะพบว่าโครงการที่คลุมเครือ ไม่ชัดเจนอย่างกฎหมายฟื้นฟูและลงทุนใหม่ของอเมริกันนั้นเป็นเพียงนโยบายที่ พูดง่ายทำยาก บางทีเราอาจจะต้องเรียนรู้จากจีน รัฐบาลจีนกำหนดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ผล ทำให้จีนฟื้นจากวิกฤติการณ์ครั้งที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี นักการเมืองแต่ละคนมีอิสระที่จะคิดพิจารณาสิ่งต่างๆได้อย่างเป็นตัวของตัว เอง รัฐบาลสามารถดำเนินมาตรการต่างๆได้อย่างรวดเร็วและได้ผลในการปรับปรุงและ เสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัย แต่ก็มีบ้างบางมาตรการที่ทำไปแล้วเกิดความสูญเปล่าและไร้ประสิทธิภาพ หรือไม่ก็ทำให้เกิดฟองสบู่ขึ้นได้ในอนาคต

มาตรการทาง การคลังที่รัฐบาลนิยมนำมาใช้กันนั้นมีทั้งมาตรการทางด้านภาษีและการใช้จ่าย ของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติ แต่การปรับลดภาษีและการสร้างงานนั้นพึ่งจะเริ่มต้นขึ้น รัฐบาลยังสามารถดำเนินมาตรการอื่นๆได้อีกหลายอย่างเพื่อต่อสู้กับวิกฤติการ เงินที่กำลังดำเนินอยู่นี้ เส้นทางยังอีกยาวไกล ความเป็นไปนับวันยิ่งสลับซับซ้อน และแน่นอนว่ามีต้นทุนการดำเนินการให้เราต้องจ่ายกันด้วย

เมื่อความช่วยเหลือทางการเงินเริ่มต้นขึ้น

รัฐบาล สามารถนำเงินงบประมาณออกมาใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือ/ค้ำประกันทางการเงินเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ กับประชาชนโดยทั่วไปก็ได้เช่นเดียวกัน แต่ก็ต้องตระหนักด้วยเช่นกันว่าสุดท้ายแล้วคนที่ต้องแบกรับภาระดังกล่าวเอา ไว้ก็คือผู้เสียภาษี ดังนั้นการใช้นโยบายทางการคลังจึงต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนรอบคอบ ให้เกิดความเหมาะสม จัดสมดุลย์ระหว่างการค้ำประกันหนี้เก่ากับหนี้ใหม่ แม้จะสามารถสะกัดยับยั้งวิกฤติครั้งที่ผ่านๆมาให้สงบลงได้ แต่ก็เท่ากับเป็นการเปิดประตูไปสู่ปัญหาเรื่องความมั่นใจ ความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นตามมาด้วยเช่นกัน

โดยมาก แล้วรัฐมักใช้การค้ำประกันเงินฝากให้กับประชาชนที่ฝากเงินได้กับธนาคารต่างๆ เพื่อให้การรับรองว่าเงินฝากในบัญชีธนาคารของประชาชนจะไม่ได้รับความเสียหาย แม้ว่าธนาคารจะถูกปิดกิจการก็ตามแต่ รับรองได้ว่าประชาชนจะยังคงได้รับเงินที่ฝากไว้กับธนาคารที่ถูกปิดกิจการ นั้นๆคืนมาอย่างแน่นอน แนวคิดนี้มีที่มาที่ต้องย้อนกลับไปยังศตวรรษที่ 19 ก่อนปี ค.ศ. 1933 คือปี ค.ศ. 1866- 1933 ซึ่งอเมริกายังไม่มีสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ตราบจนกระทั่งมีสมาชิกสภาคองเกรส 150 คนเข้าชื่อกันเสนอกฎหมายคุ้มครองเงินฝากเข้าสู่สภาคองเกรสโดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ธนาคารซื้อพันธบัตรแบบคุ้มครองเงินต้นของรัฐบาล(surety bond) โดยมีการให้หลักประกันแก่บุคคลที่ 3 ซึ่งบางคนก็เรียกว่าเป็นการเปิดโอกาสให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการเป็นผู้ให้ การค้ำประกันเงินฝากในธนาคารโดยตรง แต่ก็มีบางคนที่เรียกว่าเป็นการตั้งเงินกองทุนเพื่อค้ำประกันเงินฝากให้แก่ ผู้ฝากเงิน

ในช่วงที่เกิด the Great Depression นั้น ในท้ายที่สุดแล้วอเมริกาก็นำมาตรการค้ำประกันเงินฝากออกมาใช้ โดยมาตรการดังกล่าวประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือ กองทุนหลักประกัน(insurance fund)และการค้ำประกันของภาครัฐ(a federal guarantee) สัปดาห์แรกที่มีการคิดและถือกำเนิด New Deal ขึ้นมา องค์กรที่ต่อมาก็ได้กลายเป็นสถาบันคุ้มครองเงินฝาก(the Federal Deposit Insurance Corporation : FDIC)นั้นไม่ได้มาจากเงินภาษีประชาชน แต่การดำเนินงานของสถาบันคุ้มครองเงินฝากนั้นมีค่าดำเนินการที่มาจากการ เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสมาชิกของสถาบันคุ้มครองเงิน ฝาก อัตราค่าธรรมเนียมที่ธนาคารสมาชิกจะต้องจ่ายให้กับสถาบันคุ้มครองเงินฝาก นั้นนั่นเองที่สถาบันฯจะจ่ายคืนให้กับธนาคารในกรณีที่ธนาคารถูกปิดกิจการ เจ้าหน้าที่ของสถาบันคุ้มครองเงินฝากและผู้บริหารสถาบันจะร่วมกันประเมิน ความเสี่ยง ความมั่นคงในการดำเนินกิจการของธนาคารสมาชิกแต่ละราย และความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากธนาคารล้มละลายหรือถูกควบคุม ควบรวมกิจการโดยธนาคารที่มีเงินทุนสูงกว่า สถาบันที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอีก 1 แห่งก็คือ สถาบันค้ำประกันเงินฝากและเงินกู้(the Federal Savings and Loan Insurance Corporation : FSLIC)ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1934 เพื่อให้การค้ำประกันเงินฝากและเงินกู้

ทั้ง 2 สถาบันผ่านวันและคืนมาได้อย่างราบรื่น กาลเวลาล่วงเลยมาจนถึงทศวรรษที่ 1980 สถาบันการเงินที่รับฝากเงินและปล่อยกู้หลายพันแห่งล้มละลายพร้อมๆกัน สร้างภาระอันหนักอึ้งให้กับนายประกันอย่าง FSLIC ในทันที การล้มละลายของสถาบันการเงินนับพันทำให้ FDIC เข้าเทคโอเวอร์กิจการของ FSLIC และใส่เงินเพิ่มทุนเข้าไปใหม่ด้วยเงินภาษีของประชาชนจำนวน 153 พันล้านดอลลาร์ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนให้เราได้เห็นภาพของความเป็นจริงที่ว่าภาคการเงิน การธนาคารนั้นอ่อนไหว เปราะบางเป็นอย่างมากเมื่อมีวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ หากรัฐบาลเลือกที่จะทำอีกอย่างหนึ่งคือปล่อยให้ผู้ฝากเงินสูญเสียเงินฝากของ ตนเองก็ทำได้ แต่รัฐบาลไม่ต้องการให้เกิดภาพความสับสน โกลาหลจากความแตกตื่นของประชาชนที่แห่กันเข้าคิวถอนเงินออกจากธนาคารอื่นๆ ที่ยังแข็งแรงอยู่เพราะความตื่นตกใจที่เห็นสถาบันการเงินหลายแห่งล้มละลาย จึงเกรงว่าเงินที่ตนฝากไว้จะเบิกถอนไม่ได้ ดังนั้นรัฐบาลจึงเลือกที่จะออกมาส่งสัญญานว่าเงินฝากได้รับการคุ้มครองไม่ ว่าจะฝากเงินไว้กับธนาคารที่ยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปได้หรือจะฝากไว้กับ ธนาคารที่ล้มละลายไปแล้วก็ตามแต่

แต่การกระทำเช่นนี้ ก็เท่ากับเป็นการปลุกผีที่น่ากลัวตัวอื่นให้ตื่นขึ้นมา อันเนื่องมาจากการใส่เม็ดเงินลงไปเพื่ออุ้มสถาบันการเงิน เมื่อรัฐบาลส่งสัญญานว่าจะรัฐบาลพร้อมที่จะกระโดดเข้ามาอุ้มช่วยสถาบันการ เงินครั้งหนึ่งแล้ว แน่นอนว่าในอนาคตก็จะต้องมีความจำเป็นครั้งที่ 2, 3, 4,… เกิดขึ้นตามมาอีกอย่างแน่นอน ผู้จัดการธนาคารจึงไม่ต้องกังวลกลัวเกรงว่าจะต้องเผชิญหน้ากับความโกรธแค้น ของผู้ฝากเงิน และผู้ฝากเงินก็อุ่นใจได้เลยว่าเงินทองที่ตนเองฝากไว้กับธนาคารจะไม่ละลาย หายวับไปกับการล้มละลายของธนาคารอย่างแน่นอน ตราบใดที่ FDIC ยังคงค้ำประกันเงินฝากให้กับธนาคารสมาชิกอยู่ เงินฝากในบัญชีธนาคารปลอดภัยแน่นอน เมื่อถึงเวลาหน้าสิ่วหน้าขวาน สถาบันคุ้มครองเงินฝากก็จะออกมาประกาศย้ำครั้งแล้วครั้งเล่าให้ผู้ฝากเงิน มั่นใจได้ว่าเงินฝากได้รับการคุ้มครอง “ผู้ฝากเงินยังคงเชื่อมั่นได้อย่างเต็มที่ จงเชื่อมั่นในความน่าเชื่อถือของรัฐบาลอเมริกัน”

การ ค้ำประกันเงินฝากนั้นกลายเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของผู้คนขึ้นมาอีก ครั้งในช่วงปี ค.ศ. 2008 – 2009 ก่อนเกิดวิกฤิต FDIC คุ้มครองเงินฝากในบัญชีธนาคารสูงถึงบัญชีละ 100,000 ดอลลาร์ ประเทศอื่นๆก็ดำเนินการในลักษณะที่คล้ายคลึงกันต่างกันแค่เพดานเงินฝากที่ ได้รับการคุ้มครองเท่านั้นเอง และการคุ้มครองเงินฝากก็ไม่ได้คุ้มครองทุกบัญชี มีการจำกัดวงเงินสูงสุดเอาไว้ด้วย ดังนั้นจึงมีบัญชีเงินฝากอีกเป็นจำนวนมากที่มีเงินฝากในบัญชีสูงกว่าวงเงิน ที่ได้รับการคุ้มครอง สำหรับสหรัฐอเมริกาแล้วเงินฝากมากกว่าร้อยละ 40 อยู่ในภาวะล่อแหลมสุ่มเสี่ยง ไม่ได้รับการคุ้มครองจากการปิดกิจการไม่ว่าจะเป็นของธนาคารต่างชาติ IndyMac และ Washington Mutual

และด้วยภัยคุกคามที่มาจาก ภาคส่วนอันเปราะบางนี้นั่นเองที่ทำให้เกิดการออกมาประกาศคุ้มครองเงินฝาก เพิ่มเติมรอบใหม่ในเดือนกันยายน 2008 เพื่อเพิ่มวงเงินคุ้มครองเงินฝากทุกบัญชีใน 6 ธนาคารยักษ์ใหญ่ในอเมริกา FDIC จึงต้องออกมาขยับเพดานการคุ้มครองเงินฝากเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 แสนดอลลาร์ 2 วันต่อมาเยอรมันก็ออกมาประกาศคุ้มครองเงินฝากในธนาคารทุกบัญชี วันต่อมาก็เป็นคิวของสวีเดนบ้างโดยขยายวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองเพิ่มขึ้น เป็น 5 แสนโครนาหรือประมาณ 7.5 หมื่นดอลลาร์ หลังจากนั้นก็เป็นการประกาศของสหราชอาณาจักรเพิ่มวงเงินที่ได้รับการคุ้ม ครองเป็น 5 หมื่นปอนด์ สัปดาห์ต่อมาอิตาลีก็ออกมาประกาศว่าจะไม่ยอมให้ภาคธนาคารของประเทศล้มโดด เด็ดขาด ผู้ฝากเงินมั่นใจได้เลยว่าเงินฝากในบัญชีธนาคารจะไม่สูญหายไปไหนอย่างแน่นอน เดือนต่อมาสวิสเซอร์แลนด์ก็เพิ่มเพดานการคุ้มครองเงินฝาก และประเทศอื่นๆก็ทำในลักษณะเดียวกันนี้ด้วยเช่นกัน

การ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้เปรียบเหมือนกับการแข่งขันกันระหว่างชาติต่างๆใน การใช้อาวุธที่มีอยู่ในมือออกมาตอบโต้กันว่าใครจะใช้ออกได้อย่างรวดเร็วกว่า กัน เมื่อไอร์แลนด์ออกมาประกาศคุ้มครองเงินฝากก็เท่ากับเป็นการบีบบังคับประเทศ อื่นให้ต้องทำในแบบเดียวกันด้วย อย่างน้อยๆก็ต้องขยับเพดานบนให้เพิ่มขึ้นด้วยเหตุผลที่อธิบายได้ง่ายๆว่าถ้า ไม่ทำเช่นนั้นแล้วเงินทุน เงินฝากก็จะไหลออกจากประเทศที่จำกัดการคุ้มครองเงินฝากไปยังอีกประเทศหนึ่ง ที่สามารถฝากเงินไว้ได้อย่างอุ่นใจมากกว่า ดังนั้นภาครัฐจึงไม่อาจทนนิ่งดูดายให้เกิดเหตุการณ์เงินทุน-เงินออมไหลออก นอกประเทศได้

แนวทางอื่นๆเกี่ยวกับเงินฝากนั้นมาจาก โครงการให้หลักประกันซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาล ในสหรัฐอเมริกา สำนักงานบริหารเครดิตยูเนียนแห่งชาติ(the National Credit Union Administration : NCUA) องค์กรที่ให้ความคุ้มครองแบบเดียวกันกับสถาบันคุ้มครองเงินฝาก แต่เป็นผู้ดูแลในส่วนของเครดิตยูเนียน ได้ควบรวมธุรกิจสมาชิก 2 แห่งเข้าด้วยกันคือ U.S. Central และ WesCorp จากนั้น็ออกมาค้ำประกัน คุ้มครองเงินฝากที่มีอยู่ทั้งหมด 8 หมื่นล้านดอลลาร์ครอบคลุมเงินฝากของเครดิตยูเนียนทุกแห่งในสหรัฐอเมริกา

การ คุ้มครองเงินฝากพึ่งจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น ธนาคารหลายแห่งในสหรัฐและยุโรปกู้ยืมเงินเอาไว้มากมายมหาศาลผ่านการออกหุ้น กู้ที่ไม่มีหลักประกันและหนี้ในส่วนนี้นี่เองที่จะกลายเป็นชนวนปัญหาให้เกิด วิกฤติทางการเงินเมื่อวิกฤติดำเนินไปถึงจุดสูงสุด และมันเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะ roll over เงินกู้/หนี้สินก้อนนี้ออกไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเกิดการล่มสลายของเลห์แมน บราเธอร์ส และเมื่อเราไม่สามารถ renew หนี้เหล่านี้ได้ ธนาคารก็จะพังทลายลงไปเพราะหนี้สูญเหล่านั้น จากนั้นก็จะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังบัญชีเงินฝากของธนาคาร สหภาพยุโรปจึงออกมาค้ำประกันหุ้นกู้ของภาคธนาคารในเดือนตุลาคม 2008 เดือนเดียวกับกับที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากของสหรัฐออกหลักเกณฑ์การค้ำประกัน และการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารและธนาคารลูกมูลค่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

หลักประกันทั้งหมดที่ภาครัฐออก มาค้ำประกันก็คือป้ายราคาที่บ่งบอกให้เรารู้ว่าราคาของการค้ำประกันที่รัฐจะ ต้องจ่ายเพื่อคุ้มครองเงินฝาก เงินกู้นั้นมีมูลค่า มีราคาเท่าไหร่ ไตรมาส 3/2009 ฐานะของเงินกองทุนของสถาบันคุ้มครองเงินฝากถูกปรับลดความน่าเชื่อถือมาอยู่ ในเชิงลบ นี่คือภาระที่ผู้เสียภาษีต้องร่วมกันแบกรับไว้บนบ่าอย่างที่ไม่อาจหลีก เลี่ยงได้จากการออกมาแสดงบทบาทเป็นผู้ค้ำประกันของรัฐบาล แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้คนจำนวนมากก็ยังไม่ล่วงรู้ถึงเหตุเภทภัยที่กำลังจะเกิดขึ้นตามมาในรูปของ วิกฤติเงินออมและเงินกู้ซึ่งวิกฤติที่จะเกิดขึ้นนี้ก็จะมีลักษณะคล้ายๆกับ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากมาตรการต่างๆที่ออกมาก่อนหน้า นี้แล้วทำให้เกิดวิกฤติตามมา รวมถึงข้อผูกมัดต่างๆที่ไม่เคยมีมาก่อนที่จะสร้างภาระให้กับผู้เสียภาษีอีก เช่นเคย

การให้เงินช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินก้อน ใหญ่เริ่มต้นขึ้นที่ แฟนนี่ เม (Fannie Mae) และ เฟรดดี้ แมค(Freddie Mac) 2 ผู้ประกอบการธุรกิจรับจดจำนองยักษ์ใหญ่ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล กระทรวงการคลังสหรัฐต้องออกมาค้ำประกันเป็นเงินสูงถึง 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และควบรวม 2 กิจการของรัฐเข้าด้วยกันเพราะเหตุจำเป็น หายนะได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง รัฐบาลสหรัฐได้ออกมาประกาศอย่างชัดเจนว่าหนี้สินของทั้ง 2 กิจการนั้นได้รับการค้ำประกันเต็มจำนวน “full faith and credit”

เพียง แค่ไม่กี่ปีเท่านั้นเองเราก็จะได้เห็นกันว่าต้นทุนทางการคลังที่แท้จริงจาก การเข้าไปอุ้มแฟนนี่เมและเฟรดดี้ แมคนั้นรวมเสร็จสรรพแล้วทั้งหมดคิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ การแปรสภาพ 2 กิจการเข้ามาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลนั้น มีพันธะ ภาระที่รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบอยู่ประมาณ 5 ล้านล้านดอลลาร์ในการค้ำประกันทางการเงินแก่ทั้ง 2 บริษัท และมีหนี้สินอื่นๆอีก 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ที่ทั้ง 2 กิจการปล่อยออกมา ซึ่งแน่นอนว่าตอนนี้รัฐบาลยังไม่ได้มีมาตรการอะไรออกมารองรับเม็ดเงินมหาศาล เหล่านี้เลบ แต่หากราคาบ้านยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ผู้จำนองบ้านทิ้งจำนอง ไม่ส่งเงินต่อ รัฐบาลก็จะต้องรับภาระความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเองทั้งหมด

รัฐบาล ก็พยายามที่จะประคับประคองตลาดที่อยู่อาศัยให้เดินต่อไปได้อยู่เหมือนกัน ด้วยการออกกฎหมายที่ชื่อว่า กฎหมายว่าด้วยที่อยู่อาศัยและการพื้นฟูเศรษฐกิจ (the Housing and Economic Recovery Act)ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากสภาไปในเดือนกรกฎาคม 2008 มูลค่า 3.2 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือเจ้าของบ้านพักอาศัยที่ประสบปัญหาให้ได้รับการรีไฟแนนซ์สัญญา จำนองบ้านภายใต้การค้ำประกันของคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ(the Federal Housing Administration) แม้ว่าโปรแกรมฟื้นฟูที่ริเริ่มดำเนินการขึ้นมานี้จะมีการจัดสรรเงินที่ผิด พลาด ล้มเหลวอยู่บ้างก็ตาม ประธานาธิบดีบารัค โอบามาประกาศเคาะตัวเลขวงเงินออกมา 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อใช้สำหรับแผนการป้องกันการทิ้งจำนอง โปรแกรมต่างๆก็ยังคงดำเนินการต่อไป และแน่นอนว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็คือภาระที่ผู้เสียภาษีจะต้องแบกรับเอาไว้ อีกเช่นเดียวกัน

เงินช่วยเหลือก้อนใหญ่ที่สุดนั้นคือ เม็ดเงินที่นำมาใช้สำหรับให้ความช่วยเหลือและค้ำประกันในส่วนที่เรียกว่า โปรแกรมฟื้นฟูสินทรัพย์เสี่ยง (the trouble Asset Relief Program : TARP) ซึ่งสภาคองเกรสได้อนุมัติให้มีการจัดสรรเงินงบประมาณจำนวน 7 แสนล้านดอลลาร์เพื่อนำมาใช้ซื้อสินทรัพย์ที่เป็นหนี้เสีย แทนที่รัฐบาลจะนำเงินก้อนนี้ไปช่วยเหลือเจ้าของบ้านที่กำลังเดือดร้อนต้อง การความช่วยเหลือจากภาครัฐ และอีกส่วนหนึ่งก็นำไปใช้เพื่ออุ้มบริษัทผู้ผลิตรถยนต์อย่างเจนเนอรัล มอเตอร์สและไครส์เลอร์ เบ็ดเสร็จแล้วอุตสาหกรรมรถยนต์ได้เงินช่วยเหลือไปถึง 8 หมื่นล้านดอลลาร์ เงินบางส่วนก็นำไปใช้ในการปล่อยกู้ ส่วนที่เหลือรัฐบาลก็นำไปใช้ในการซื้อหุ้น เข้าไปเป็นเจ้าของกิจการร่วมกับเจ้าของกิจการเดิม ร่วมเดิมพันครั้งใหญ่กับบริษัทที่กำลังร่อแร่ปางตายว่าจะฟื้นกลับคืนมา ประกอบธุรกิจได้ดังเดิมหรือไม่

โชคไม่ดีอีกเช่นกัน ที่บริษัทรถยนต์เหล่านี้เองก็พึ่งจะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของภาวะวิกฤติเท่า นั้นเอง เงินกองทุนของ TARP ประมาณ 3.4 แสนล้านดอลลาร์ถูกนำไปใช้สำหรับให้ความช่วยเหลือสถาบันการเงินเกือบ 700 แห่ง บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างซิตี้กรุ๊ป แบงค์ออฟอเมริกา และเอไอจี รวมถึงธนาคารขนาดเล็กอื่นๆ เงินส่วนใหญ่ถูกใช้ไปเพื่อการอัดฉีดเงินทุนที่น่าฉงนสงสัยซึ่งรัฐบาลจ่ายไป เพื่อแลกกับการเป็นผู้ร่วมถือหุ้นบางส่วนในธนาคารที่ได้รับเงินช่วยเหลือ หุ้นที่ได้มาจากการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปนี้คือเดิมพันครั้งใหญ่ของรัฐบาลว่า ธนาคารที่กำลังประสบปัญหาเหล่านั้นจะฟื้นคืนกลับมาได้หรือไม่ รัฐบาลจะได้รับเงินปันผลตอบแทนคืนกลับมามากน้อยแค่ไหน สิ่งต่างๆเหล่านี้คือการใช้จ่ายของภาครัฐที่ยังคงดำเนินต่อไปซึ่งสะท้อนให้ เห็นถึงเม็ดเงินจำนวนเยอะแยะมากมายมหาศาลที่รัฐนำมาใช้ในฐานะที่เป็นส่วน หนึ่งของนโยบายการคลังรูปแบบใหม่ๆในทิศทางที่ผิดแผกแตกต่างกันไปหลากหลายรูป แบบ

แนวคิดในเรื่องทุน

ธนาคาร คือธุรกิจอันลึกลับซับซ้อน มีคนไม่มากนักที่เข้าใจกลไก ระบบการทำงานของธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆอย่างแท้จริง ส่วนใหญ่สืบเนื่องมาจากสาเหตุที่ว่าขาดความรู้ ขาดความเข้าใจในการทำงบดุล(balance sheet)ของธนาคารว่ามีที่มาที่ไป และเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ได้อย่างไร ด้านขวามือของงบดุลเป็นฟากฝั่งของความน่าเชื่อถือของธนาคาร(bank’s liabilities) ส่วนข้อมูลด้านซ้ายมือนั้นเป็นสินทรัพย์ที่ธนาคารมีอยู่ ความน่าเชื่อถือของธนาคารคืออะไร อธิบายกันแบบง่ายๆ คร่าวๆก็คือความน่าเชื่อถือของะนาคารนั้นจะมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับเม็ด เงินที่ธนาคารมีอยู่ในมือ ที่ธนาคารสามารถนำมาใช้ในการทำธุรกิจได้ ซึ่งเม็ดเงินจำนวนดังกล่าวนั้นมีที่มาจาก 2 แหล่งคือ 1) มาจากการระดมทุน กระจายหุ้นออกขายให้กับนักลงทุนทั่วไปเพื่อแลกกับการที่นักลงทุนจะได้เข้ามา เป็นเจ้าของกิจการธนาคารนั้นๆร่วมกัน แนวทางนี้ธนาคารไม่จำเป็นต้องเป็นหนี้ใคร ไม่ต้องคืนเงินต้นให้กับผู้ถือหุ้น แต่ต้องปันส่วนผลกำไรที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ถือหุ้น ดังนั้นหุ้นจึงถูกมองว่าเป็นความน่าเชื่อถือของธนาคารที่ผู้ถือหุ้นสามารถ ใช้สิทธิเรียกร้องในฐานะเจ้าของร่วมในธนาคารนั้นๆได้

วิธี การที่ 2 ที่ธนาคารใช้ในการเพิ่มความน่าเชื่อถือของธนาคารก็คือการกู้ยืมเงิน ซึ่งส่วนมากก็จะมาจากเงินฝากของประชาชน หรือไม่ก็การกู้ยืมเงินกันเองระหว่างธนาคารกับธนาคารและสถาบันการเงิน ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณนำเงินของคุณไปฝากไว้กับธนาคาร นั่นก็คือการที่คุณนำเงินของคุณไปให้ธนาคารนั้นๆกู้ยืมเงินจากคุณนั่นเอง เงินฝากของคุณก็จะกลายเป็นความน่าเชื่อถือของธนาคาร เมื่อคุณต้องการเงินที่อยู่ในบัญชีธนาคารของคุณคืนมา ธนาคารก็จะคืนเงินให้กับคุณ เช่นเดียวกันกับเงินที่ธนาคารกู้ยืมมาจากธนาคารอื่นซึ่งเป็นการกู้ยืมเงิน กันระหว่างธนาคารด้วยกันเองก็เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธนาคารด้วย เช่นกัน ธนาคารไม่เพียงแต่จะกู้ยืมเงินจากประชาชนและธนาคารอื่นด้วยวิธีการตรงๆอย่าง ที่ได้อธิบายไว้แล้วเท่านั้น แต่ธนาคารยังสามารถใช้วิธีการอื่นๆได้อีกด้วย เช่น การออกผลิตภัณฑ์ประเภทตราสารทางการเงินรูปแบบต่างๆ เป็นต้น ซึ่งก็สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธนาคารได้เช่นกัน ในการกู้เงินธนาคารนั้น เงินกู้ส่วนใหญ่นั้นได้ทำให้เกิดต้นทุนของธนาคารเพราะธนาคารมีภาระที่จะต้อง จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากให้กับเจ้าของบัญชี ตราสารหนี้ก็เช่นเดียวกัน ธนาคารก็ต้องจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือตราสารหนี้ด้วยเช่นกัน

แล้ว ธนาคารนำเงินที่ระดมทุนมาได้จากการกระจายหุ้นและกู้ยืมด้วยวิธีการต่างๆไปทำ อะไร ? คำตอบก็คือ ธนาคารนำเงินที่ระดมทุนได้ไปใส่ไว้อีกฟากข้างหนึ่งของงบดุล คือ ในส่วนที่เป็นสินทรัพย์ของธนาคารนั่นเอง เช่น ธนาคารปล่อยเงินกู้ใหกับธนาคารอื่น ภาคธุรกิจ และผู้ซื้อหรือสร้างบ้าน เงินกู้เหล่านี้ก็จะถูกธนาคารพิจารณาว่าเป็นสินทรัพย์ของธนาคารเพราะสิน เชื่อที่ธนาคารปล่อยออกไปนี้ก็คือการลงทุนของธนาคารที่จะนำมาซึ่งรายได้ของ ธนาคารในระยะยาวนั่นเอง เงินกู้ดังกล่าวสามารถสร้างผลกำไรกลับคืนสู่ธนาคารได้ ทำให้ธนาคารกลายเป็นกิจการที่มีมูลค่าทางธุรกิจ สินทรัพย์อื่นๆที่ธนาคารถือครองอยู่ก็เช่นกัน ธนาคารสามารถนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรของรัฐบาลหรือหลักทรัพย์อื่นๆ ในสินทรัพย์ที่มีค่า สำหรับสินทรัพย์ส่วนที่เหลือของธนาคารก็คือเงินสดที่กองรวมกันอยู่ในห้อง นิรภัยของธนาคาร รวมทั้งของมีค่าอื่นๆอีกเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมดที่ ธนาคารนั้น น่าประหลาดใจเป็นอย่างมากที่มันกลับไม่อาจทำเงิน สร้างผลกำไรกลับคืนมาให้กับธนาคารได้มากสักเท่าใดนัก

นั่น คือระบบ กลไกการทำงานแบบง่ายๆคร่าวๆของธุรกิจธนาคาร ว่าธนาคารนั้นสามารถเพิ่มเงินในมือตัวเองได้ด้วยการออกหุ้นและกู้ยืมเงินจาก ผู้ให้กู้ ขนาดของเงินทุนทำให้ธนาคารมีความน่าเชื่อถือ ธนาคารจึงมีความจำเป็นต้องกู้เงิน สะสมสินทรัพย์ แล้วธนาคารก็สามารถทำกำไรได้ด้วยการนำเงินทุนที่มีอยู่มาหมุนเวียน กินส่วนต่างจากอัตราดอกเบี้ย ระหว่างดอกเบี้ยที่ธนาคารต้องจ่ายคืนให้เจ้าหนี้หรือเจ้าของบัญชีกับ ดอกเบี้ยรับที่ธนาคารได้จากลูกค้าสินเชื่อของธนาคาร หากดอกเบี้ยที่ธนาคารต้องจ่ายต่ำกว่าดอกเบี้ยที่ธนาคารได้รับก็กลายเป็นราย ได้ เป็นผลกำไรของธนาคาร หากว่าทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปอย่างเรียบง่ายและตรงไปตรงมา แต่การธนาคารนั้นไม่ใช่วิชาการที่ตายตัวอย่างเช่นการทำจรวดไปเหยียบผิวดวง จันทร์ ดังนั้นจึงไม่อาจคาดหวังจากนายธนาคารได้ว่าธนาคารจะดำเนินธุรกิจอย่างซื่อๆ ตรงไปตรงมาตามหลักวิชาที่วางไว้นี้ได้เสมอไป

และใน ตอนนี้เรื่องราวของเราก็ได้ดำเนินมาถึงส่วนที่เป็นสาระสำคัญกันแล้ว นั่นคือ เรื่องที่ว่า แท้จริงแล้วธนาคารมีมูลค่าเท่าไหร่กันแน่ ? ยกตัวอย่างง่ายๆคือ มันมีความแตกต่างกันอยู่ระหว่างมูลค่าสินทรัพย์ของธนาคารกับมูลหนี้ที่เชื่อ ถือได้ของธนาคาร เราลองมาทำให้ตัวเลข 2 ฝั่งนี้แตกต่างกันดู เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าหากเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ในกรณีที่สินทรัพย์ของธนาคารมีมากกว่ามูลหนี้ที่เชื่อถือได้นั้น ธนาคารก็จะบอกกับเราว่าส่วนต่างที่ว่านี้คือมูลค่าของธนาคาร ซึ่งเราเรียกกันว่า”ทุน”(capital)หรือ”สินทรัพย์”(equity) ซึ่งทุนที่ว่านี้ก็เป็นของเจ้าของธนาคารหรือผู้ถือหุ้นซึ่งมีสิทธิเรียกร้อง ในสินทรัพย์ส่วนที่เหลือนี้จากธนาคารได้ ส่วนด้านขวามือของงบดุลซึ่งเป็นส่วนของหนี้สินของธนาคารนั้น หนี้ที่ธนาคารมีต่อผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ใส่เงินเข้ามาในกองทุนของธนาคารใน ช่วงแรกเริ่มที่มีการก่อตั้งธนาคารหรือมีการเพิ่มทุนธนาคารด้วยการกระจาย หุ้นให้กับบุคคลทั่วไปในภายหลังนั้น ผู้ถือหุ้นก็จะได้รับส่วนแบ่งจากกำไรของธนาคารในรูปเงินปันผล และได้กำไรเพิ่มขึ้นจากมูลค่าหุ้นที่สูงขึ้นจากผลประกอบการที่ส่งผลให้ สินทรัพย์ของธนาคารเพิ่มสูงขึ้น

คราวนี้เราลองมาดู กันว่าธนาคารจะทำอย่างไรเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤติการเงิน สิ่งที่เราต้องให้ความสนใจ ต้องพิจารณากันเป็นพิเศษก็คือ ในฟากฝั่งที่เป็นความน่าเชื่อถือของธนาคารที่อยู่ในงบดุลของธนาคารว่ามัน เกิดการบิดเบี้ยว ผิดรูปไปจากที่มันควรจะเป็นได้อย่างไร เมื่อธนาคารไม่สามารถกู้ยืมเงินเพิ่มได้ หรือธนาคารต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้นทุนการกู้ยืมเงินของธนาคารนั้นสูง เกินไปเพราะอัตราดอกเบี้ยจ่ายสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยรับ ผู้ฝากเงินจากธนาคารก็จะเกิดอาการแตกตื่นและแห่กันมาถอนเงินออกจากบัญชีเงิน ฝากของตนเอง หรือหากว่าธนาคารอื่นปฏิเสธที่จะปล่อยเงินกู้ก้อนใหม่ให้กับธนาคารหรือไม่มี ใครยอมซื้อตราสารทางการเงินที่ธนาคารเป็นผู้ออก จากวิกฤติการณ์ในอดีตที่ผ่านมา เฟด-ธนาคารกลางของสหรัฐก็มักจะใช้วิธีคิดค้น เฟ้นหาสารพัดวิธีการที่จะปล่อยเงินกู้ให้กับธนาคารที่ประสบปัญหาไปพร้อมๆกับ การสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าหนี้ของธนาคารว่าเงินที่พวกเขาเหล่านั้นฝากไว้ หรือปล่อยกู้ให้กับธนาคารนั้นจะไม่เกิดความเสียหายขึ้นอย่างแน่นอน รัฐบาลจะทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยเหลือให้ส่วนต่างๆที่ประกอบกันเป็นความน่า เชื่อถือของธนาคารที่อยู่ในงบดุลนั้นดำรงอยู่ได้ มีการใส่เม็ดเงินก้อนใหม่เข้ามาเพื่อเพิ่มสินทรัพย์ให้กับธนาคาร เพิ่มการให้หลักประกันเงินฝากว่ายังมั่นใจได้และให้การคุ้มครอง รับประกันอย่างเต็มที่แม้ในส่วนของหนี้สินของธนาคารที่ไม่มีหลักประกันหรือ สุ่มเสี่ยงว่าจะเกิดความเสียหายขึ้น

แล้วอีกฟากข้าง หนึ่งของงบดุลธนาคารซึ่งเป็นส่วนของสินทรัพย์ของธนาคารล่ะ ? เฟด-ธนาคารกลางสหรัฐสามารถทำอะไรได้ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่ตนเองจะมีอำนาจ กระทำการได้ในฐานะธนาคารกลางเพื่อให้ธนาคารสามารถกู้ยืมเงินในขณะที่เกิด วิกฤติการเงินได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าสินทรัพย์ของธนาคารมีมูลค่าน้อยกว่าที่เคยมีในอดีตที่ผ่านมา ส่วนของทุนหรือมูลค่าสุทธิของธนาคารย่อมลดต่ำลงด้วยเช่นกัน เมื่อความน่าเชื่อถือของธนาคารปราศจากสินทรัพย์มารองรับ มูลค่าของธนาคารก็จะเหลือเป็นศูนย์ ธนาคารนั้นก็จะล้มละลาย(insolvent)หรือถูกฟ้องล้มละลาย(bankrupt)

ช่วง ที่วิกฤติการเงินครั้งที่ผ่านมาเลวร้ายลงไปยิ่งขึ้น สินทรัพย์จำนวนมากของธนาคารซึ่งอยู่ในงบดุลก็เริ่มเสื่อมมูลค่าลงไปเรื่อยๆ สินทรัพย์บางส่วนที่นำออกไปปล่อยกู้กลายเป็นหนี้เสีย ขณะที่สินทรัพย์อื่นๆที่เป็นหลักทรัพย์ก็ได้มาจากยึดจำนองและการปล่อยกู้ใน รูปแบบอื่นๆ เมื่อเจ้าของบ้านทิ้งจำนอง ผิดนัดชำระหนี้ หนี้เสียในส่วนนี้ก็จะส่งผลกระทบต่อไปเป็นลูกโซ่ถึงภาคส่วนอื่นๆในระบบการ เงินทั้งระบบ มูลค่าของทุกสิ่งทุกอย่างที่มาจากการปล่อยกู้ให้กับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในท้องถิ่น ไปจนถึง CDOs(collateralized debt obligations)ก็เริ่มมีมูลค่าลดลง และเมื่อมูลค่าของสินทรัพย์ต่างๆเหล่านี้ลดลง ส่วนของทุนที่ยังเหลืออยู่ก็ลดลงตามไปด้วย

ธนาคารใน สหรัฐอเมริกาและยุโรปในขณะนั้นต่างก็มีความจำเป็นต้องใส่เงินเพิ่มทุนลงไป อันดับแรกคือการเปิดหมวกรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนเพื่อความมั่งคั่งของ รัฐบาลที่ยอมจ่ายเงินซื้อหุ้นเพิ่มทุน (prefered shares) ซึ่งหุ้นดังกล่าวธนาคารได้นำออกมาจำหน่ายแบบจำเพาะเจาะจงว่าออกมาเพื่อ จำหน่ายให้กับรัฐบาลโดยเฉพาะ โดยมีเงื่อนไขว่ารัฐบาลที่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนนี้ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงใดๆทั้ง สิ้น รัฐบาลเป็นแต่เพียงผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่งของธนาคารและจะได้รับเงินปันผลตอบแทน จากผลกำไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลจึงไหลเข้าไปอยู่ในกองทุนของธนาคาร และธนาคารสามารถฟื้นฟูสถานะของเงินกองทุนของตนเองขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง ในชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในอีกหลายๆมาตรการที่ใช้เป็นเครื่องชี้วัดสุขภาพในการ ดำเนินธุรกิจของธนาคาร แต่มูลค่าของสินทรัพย์ต่างๆของธนาคารก็ยังคงปรับลดลงต่อไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นธนาคารก็จะต้องเพิ่มทุนกันอีกครั้ง คราวนี้ธนาคารใช้การระดมทุนจากภาคเอกชนเป็นเครื่องมือด้วยการออกหุ้นสามัญ เพิ่มทุน แต่ก็ยังได้เงินมาไม่เพียงพออีกเช่นเคย ฤดูใบไม้ร่วงปี 2008 มูลค่าของสินทรัพย์ที่ธนาคารครอบครองอยู่ก็ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเหตุการณ์ได้ดำเนินมาถึงตอนนี้แล้ว ไม่มีใครสนใจจะใส่เงินเข้าไปเพิ่มทุนให้กับธนาคารกันอีกแล้ว

เมื่อ สถานการณ์ดำเนินมาถึงขั้นนี้แล้ว ผู้กำหนดนโยบายก็ต้องหยิบยกมาตการอะไรสักอย่างที่มีอยู่ในมือออกมาใช้ ผู้กำกัดดูแลกิจการธนาคารสามารถที่จะเลือกได้ว่าจะปล่อยให้ธนาคาร(และสถาบัน การเงินอื่นๆที่ไม่ใช่ธนาคาร เช่น ธนาคารลูก และธุรกิจตัวแทน นายหน้าของธนาคาร)ล้มดีหรือไม่ หลังจากนั้นภาครัฐก็อาจจะปรับโครงสร้างธุรกิจไม่ว่าจะด้วยวิธีผ่านกระบวนการ ในหรือนอกศาล หรือผ่านกระบวนการของ FDIC ที่ธนาคารเป็นสมาชิกอยู่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างในกรณีที่บางธนาคารอยู่ในฐานะล่อแหลม สุ่มเสี่ยง ขาดความมั่นคง เจ้าหนี้ที่เป็นผู้ถือครองตราสารทางการเงินที่ออกโดยธนาคารนั้นๆ เป็นต้น อาจจะเห็นพ้องต้องกันว่าให้ธนาคารแปลงหนี้บางส่วนเป็นหุ้นหรือสินทรัพย์อื่น ใดของธนาคาร ซึ่งการแปลงหนี้เป็นสินทรัพย์นี้(debt-for-equity swaps)ไม่จำเป็นจะต้องกำหนดเงื่อนไขในการเจรจาที่แน่นอนตายตัวเอาไว้ล่วง หน้า ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกการเจรจาต่อรองระหว่างเจ้าหนี้ของธนาคารแต่ละรายว่าจะ มีเงื่อนไขการต่อรองกันอย่างไร ซึ่งเจ้าหนี้บางรายอาจจะเลือกใช้เงื่อนไขอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงินมาเจรจาต่อรอง กับธนาคารก็ได้ หรือบางรายอาจจะยอมปล่อยกู้เพิ่มเติมให้กับธนาคารเพื่อให้ธนาคารสามารถกลับ มาดำเนินธุรกิจต่อไปได้อีกครั้งก็ย่อมได้ ดังนั้นธนาคารก็จะสามารถกลับมาดำเนินกิจการได้อีกครั้งหนึ่งหลังการปรับโครง สร้างหนี้ เจ้าหนี้ยอมปรับลดหนี้ ยกหนี้ให้บางส่วนแล้ว จากนั้นความน่าเชื่อถือของธนาคารที่ลดลงไปก็จะกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลย์สอด คล้องกับมูลค่าสินทรัพย์ที่เหลืออยู่ ธนาคารคก็จะมีเงินทุนและปล่อยกู้ได้อีกครั้งหนึ่ง

วิธี การนี้เท่ากับว่าเป็นการยอมให้ตลาดได้ขจัดของเสียออกไปจากระบบ ธนาคารที่ย่ำแย่ก็ปล่อยให้ล้มหายตายจากไปก่อน จากนั้นก็ปรับโครงสร้างธนาคารและฟื้นฟูกิจการกลับคืนมาใหม่ ได้ผลออกมาในลักษณะเดียวกัน ความสำเร็จเกิดจากการที่ธนาคารกลางของรัฐบาลออกมาประกาศให้ชัดเจนว่าจะมี ธนาคารบางส่วนที่ล้มละลายและถูกขจัดทิ้งไปจากระบบ แล้วธนาคารเหล่านั้นก็จะถูกแทนที่ด้วยการที่ภาครัฐเข้าไปควบคุมกิจการ ส่งคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์เข้าไปดำเนินการขายสินทรัพย์ดี บริหารสินทรัพย์เสีย จากนั้นก็ปล่อยให้ธนาคารดำเนินกิจการไปตามปกติ กระบวนการนี้เรียกว่า “การแปลงธุรกิจไปเป็นของรัฐ”(nationalization) ซึ่งเป็นทางเลือกที่สวีเดนนำมาใช้แก้ไขวิกฤติภาคธนาคารที่เกิดขึ้นในช่วงต้น ทศวรรษที่ 1990 และสหรัฐอเมริกาก็นำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพในการเข้าเทคโอเวอร์กิจการของ ธนาคารคอนติเนตัล อิลลินอยส์(Continental Illinois) ธนาคารยักษ์ใหญ๋ที่ประสบปัญหาจากวิกฤติเงินออมและเงินกู้(the saivings and loan crisis)คราวก่อน

แต่วิกฤติการเงินครั้งที่ผ่าน มานี้ เรากลับไม่ได้นำวิธีการเช่นนั้นออกมาใช้ และภายหลังความล้มเหลวที่เกิดกับเลห์แมน บราเธอร์ส การแก้ไขปัญหาภาคธนาคารก็ยืนอยู่บนจุดยืนที่ว่าธนาคารล้มไม่ได้ รัฐจะให้ความกรุณแก่ผู้ถือตราสารทางการเงินของธนาคารที่ประสบปัญหาไม่ให้ ต้องเผชิญกับหนี้สูญอย่างแน่นอน ตราสารทางการเงินดังกล่าวนั้นรัฐต้องใช้เงินราวๆ 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านการออกกฎหมายที่ให้อำนาจกับ TARP เป็นผู้รับซื้อหนี้ก้อนดังกล่าวจากธนาคาร และใส่เงินทุนก้อนใหม่เข้าไปในธนาคาร ผู้ที่ได้รับประโยชน์ไปเต็มๆยังรวมถึงธนาคารยักษ์ใหญ่อย่าง แบงค์ออฟอเมริกา ซิตี้กรุ๊ป เจพีมอร์แกนเชส โกลด์แมนแซคส์ และเอไอจี ซึ่งทั้งหมดได้เงินอัดฉีดไปประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ธนาคารอื่นๆอีกนับร้อยราย ธนาคารขนาดเล็กล้วนเข้าแถวเรียงราย ต่อคิดกันรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนี้ตามมาด้วยการขยายวงเงินเพิ่มเติมในภายหลัง รัฐบาลซึ่งก็คือชาวอเมริกันที่เป็นผู้เสียภาษีนั่นเองที่ได้กลายเป็นเจ้าของ ตัวจริงในกิจการที่เข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินครั้งใหญ่คราวนี้ของบรรดา ธนาคารต่างๆ เป็นผู้แบกรับภาระหนี้เสีย หนี้สูญที่ถูกตัดทิ้งไปตัวจริง

สิ่ง ที่กำลังคืบคลานเข้ามาก็คือระบบการเงินบางส่วนได้กลายเป็นกิจการของรัฐไป แล้ว และหากเราจะต้องให้ความช่วยเหลือธนาคารอื่นๆที่เหลืออยู่ทั้งหมด เม็ดเงินมหาศาลที่รัฐจะต้องใส่ลงไปช่วยเหลือก็จะกลายเป็นต้นทุนในระยะยาวที่ ยากจะคิดคำนวณออกมาได้ว่าแท้จริงแล้วจะเป็นเท่าไหร่ อย่างไรกันแน่ ธนาคารขนาดใหญ่ส่วนมากได้จ่ายเงินคืนให้กับกองทุนภายใต้ความดูแลของ TARP บ้างแล้ว และรัฐบาลก็กำลังจะปลดเปลื้องภาระของตนเองจากสถาบันการเงินต่างๆเหล่านั้น ออกไปได้ แต่ธนาคารอื่นๆ รวมถึงธนาคารขนาดเล็กจำนวนมาก ธนาคารท้องถิ่นที่ยังคงต้องพึ่งพาอาศัยความช่วยเหลือทางการเงินจาก TARP อยู่ ยังไม่สามารถจ่ายเงินคืนให้กับ TARP ได้นั้นก็จะยังคงเป็นต้นทุนทางการคลังของรัฐ ของผู้เสียภาษีต่อไปในอนาคตอีกนั่นเอง

สำหรับธนาคาร ที่ได้คืนเงินให้กับ TARP แล้วนั้น ปัญหาแท้จริงที่เป็นรากเหง้าของวิกฤติการธนาคารก็ยังคงอยู่เช่นเดิม สินทรัพย์ของธนาคารยังคงเสื่อมราคาต่อไปเรื่อยๆ ปัญหารอเวลาที่จะปะทุขึ้นมาอีกครั้งก็เท่านั้นเอง แล้วรัฐบาลก็จะต้องใส่เงินเข้าไปอีกมากมายมหาศาลให้กับธนาคารเหล่านั้นกัน อีกครั้ง แต่คราวนี้สินทรัพย์ที่มีปัญหาซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของธนาคารได้เปลี่ยน แปลงไปจากเดิมแล้ว หนี้เสียได้ถูกขว้างทิ้งออกไปแล้ว คราวนี้เราอาจจะต้องขว้างสินทรัพย์ดีทิ้งไปบ้างก็ได

หนี้เสีย

คำถามที่จะถามก็คือว่าเราทำอะไรกันบ้างกับสินทรัพย์ของธนาคารที่ส่อแววว่า กำลังจะมีปัญหาเกิดขึ้นในช่วงที่วิกฤติเศรษฐกิจเริ่มต้นขึ้น ตราบใดที่ตลาดสินเชื่อยังคงเลวร้ายต่อไปเรื่อยๆ และตราบใดที่สินทรัพย์ที่สถาบันการเงินได้มาจากการปล่อยสินเชื่อยังคมมี มูลค่าลดลงต่อไปไม่หยุด ธนาคารก็ไม่สามารถที่จะปล่อยกู้เพิ่มเติมได้หรือแม้ว่าจะยังคงกระทำได้ สถาบันการเงินก็จะเลือกที่จะไม่ปล่อยกู้เพิ่มเติมเพราะกลัวว่าจะกลายเป็น หนี้เสียตามมาในภายหลัง แทนที่จะปล่อยให้ธนาคารต้องต่อสู้ดิ้นรนหาทางออกให้กับหนี้เสียที่เกิดขึ้น ด้วยตัวเอง ให้ระบบแก้ไขตัวเองไปตามธรรมชาติของมัน ผู้กำหนดนโยบายก็จะออกมาตรการต่างๆมาชุดหนึ่งเพื่อดึงหนี้เสียออกจากระบบ ทำให้ระบบธนาคารสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าได้อีก ครั้งหนึ่ง

สูตรสำเร็จที่ภาครัฐนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินก็คล้ายๆกับการผ่าตัดครั้งใหญ่ที่สุดแสนจะเจ็บปวดนั่นคือ การแยกธนาคารที่ประสบปัญหาออกมาเป็น 2 ธนาคารเป็น good bank กับ bad bank สินทรัพย์ที่ยังดีอยู่ ไม่มีปัญหาก็เอาไว้กับ good bank ส่วนหนี้เน่า สินทรัพย์ที่มีปัญหาก็เอาไปไว้กับ bad bank เมื่อมีการแยกหนี้เสียออกมา good bank ก็สามารถดำเนินธุรกิจปล่อยสินเชื่อต่อไปได้ มีความน่าในใจ สามารถดึงดูดเงินฝาก เงินทุนได้ ราคาที่ธนาคารต้องสูญเสียไปอันเนื่องมาจากมาตรการกำจัดหนี้เสียออกจากระบบ บัญชีของธนาคารเพื่อให้ธนาคารดำเนินธุรกิจต่อไปได้นั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ ค่อนข้างแพงที่ผู้ถือหุ้นของธนาคารและเจ้าหนี้ที่ไม่มีหลักประกันต้องกล้ำ กลืนฝืนทน ตัดใจ ตัดหนี้สูญในส่วนนี้ไป คือ ในส่วนที่เป็นหนี้เสียที่ธนาคารต้องยอมตัดขายขายทุนสินทรัพย์ในส่วนนั้นให้ กับ bad bank ในทางกลับกัน bad bank หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เอกชนเป็นผู้จัดตั้งขึ้นก็สามารถทำกำไรได้จาก สินทรัพย์ที่ธนาคารประมูลซื้อมาในราคาถูกๆนั่นเอง

มาตรการในทำนองนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากปี 1988 เมื่อธนาคารเมลลอนมีปัญหาขาดความน่าเชื่อถือ ปัญหาเกิดขึ้นเมื่ออสังหาริมทรัพย์ในพอร์ตสินเชื่อของธนาคารซึ่งปล่อยกู้ให้ กับภาคอุตสาหกรรมกลายเป็นหนี้เสีย ธนคารเมลลอนใช้เงินที่ได้มาจากธนาคารเพื่อการลงทุนดึงสินทรัพย์ที่สงสัญว่า จะเสียออกจากบัญชีทรัพย์สินของธนาคาร โยกสินทรัพย์ด้งกล่าวไปไว้ในบัญชีของธนาคารใหม่ที่ธนาคารจัดตั้งขึ้นมาซึ่ง มีชื่อว่า the Grant Street National Bank นักลงทุนทั่วไปที่ชื่นชอบความเสี่ยงใส่เงินลงทุนของตนเองลงไปในธนาคารใหม่ นี้ พนักงานที่ทำงานกับ bad bank ดังกล่าวมีหน้าที่กว้านซื้อสินทรัพย์มีปัญหา ประเมินราคาสินทรัพย์ และทำกำไรให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้จากสินทรัพย์เสียที่ประมูลซื้อมา เมื่อธนาคารเมลลอนปลดเปลื้องสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ออกไปได้ ธนาคารเมลลอนก็ฟื้นคืนชีพ กลับมาดำเนินธุรกิจ ยืนอยู่บนขาของตัวเองได้อีกครั้งภายในระยะเวลาอันสั้น เมื่อธนาคาร the Grant Street National Bank ขายสินทรัพย์หมดในปี 1995 ธนาคารดังกล่าวก็เลิกกิจการไป

นี่เป็นมาตรการที่ดีที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน วิธีการอื่นๆที่เป็นทางเลือกที่ดีน้อยกว่าก็คือการผลักภาระให้กับภาครัฐ ให้รัฐเป็นผู้รับซื้อหนี้เสียของธนาคารอย่างที่ TARP ดำเนินการอยู่ ราคาที่ TARP จะต้องจ่ายเป็นไปตามระบบที่เรียกว่า “reverse auction” คือผู้ขายจะเสนอราคาขายที่ต่ำที่สุดที่ตนเองยอมรับได้ให้กับ TARP เพื่อกำจัดหนี้เสียออกจากระบบบัญชีของธนาคาร ผลของการตั้งราคาซื้อขายดังกล่าวคือทำให้สินทรัพย์มีราคาลดต่ำลง

วิธีดังกล่าวก็เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ แต่วิธีการบริหารสินทรัพย์ในลักษณะนี้นั้นเป็นวิธีการที่นำมาซึ่งราคา สินทรัพย์ที่เป็นธรรมจริงๆหรือ ธนาคารที่เข้าร่วมการประมูลก็รู้ ก็เห็นกันอยู่ว่าราคา/มูลค่าสินทรัพย์นั้นมีแนวโน้มว่าจะลดต่ำลงไปเรื่อยๆ แล้วทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็รวมหัวกันทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้อะไรใดๆทั้ง สิ้นในเรื่องนี้ ยิ่งไปกว่านั้นสินทรัพย์ทั้งหลายเหล่านั้นล้วนแต่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ที่จะเกิดประโยชน์ได้ก็แต่เฉพาะกับผู้ถือครองหลักทรัพย์/สินทรัพย์ที่เป็น สถาบันการเงินเท่านั้น และสิ่งที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่งก็คืออำนาจในการต่อรองราคาสินทรัพย์ เพื่อให้ได้ราคารับซื้อสินทรัพย์ที่ต่ำที่สุดนั้น รัฐบาลสามารถต่อรองกับสถาบันการเงินได้มากน้อยแค่ไหน ราคาที่ซื้อได้สูงเกินจริงหรือไม่ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วหากเหตุการณ์ดำเนินไปในลักษณะดังกล่าวจริง รัฐบาลก็จะต้องขาดทุนจากเม็ดเงินที่ควักกระเป๋าออกไปรับซื้อหนี้เสียเหล่า นั้น และเมื่อความช่วยเหลือดังกล่าวสิ้นสุด การตัดสินใจเข้าซื้อหนี้เสียของรัฐบาลเพื่ออุ้มสถาบันการเงินดังกล่าวก็จะ กลายเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงด้วยเงินภาษีที่เก็บมาจากผู้เสียภาษีอากร ชาวอเมริกันนั่นเอง ประชาชนจึงเป็นผุ้เสียหายตัวจริง

ทางเลือกอื่นมีอีกมั๊ย มีครับ เช่น การกำหนดรูปแบบของการที่ภาครัฐจะเข้าไปเป็นผู้ค้ำประกันให้กับธนาคารที่ ประสบปัญหา ประมาณว่าธนาคารมีหนี้เสียอยู่ 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ธนาคารก็อาจจะยินยอมให้หักส่วนลดสัก 3 พันล้านดอลลาร์เป็นหนี้สูญ แล้วให้รัฐบาลเข้ามาช่วยดูแลหนี้ในส่วนที่เหลืออีก 4.7 หมื่นล้านดอลลาร์ แลกกับการค้ำประกันสินเชื่อของภาครัฐด้วยการยอมเสียเงินไป 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นค่าพรีเมียมที่ธนาคารจ่ายให้กับรัฐบาลที่เข้ามาช่วย ค้ำประกันหนี้ที่มีมูลค่าลดลงมาเหลือ 4.7 หมื่นล้านดอลลาร์ให้ ทางเลือกอื่นก็ยังมีอยู่อีก อย่างเช่นการให้รัฐเลือกรับผลตอบแทนเป็นหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ของธนาคาร ที่มีมูลค่าเท่ากับ 3 พันล้านดอลลาร์ที่ธนาคารจะต้องตัดหนี้สูญในส่วนนี้ออกไป

วิธีการในแบบหลังๆนั้ก็คือวิธีการที่มีการนำมาประยุกต์ใช้กันในสหราชอาณาจักร และรัฐบาลสหรัฐก็นำมาใช้ต่อด้วยการให้การค้ำประกันมูลหนี้มูลค่าหลายแสนล้าน ดอลลาร์ให้กับสินทรัพย์เสี่ยงของ Bank of America และซิตีกรุ๊ป คราวนี้เราลองมาดูกันว่าในทางปฏิบัตินั้นผลจะออกมาเป็นอย่างไร ในกรณีของแบงค์ออฟอเมริกานั้น หนี้เน่าของธนาคารมีมูลค่าประมาณ 1.18 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ มีการตัดหนี้สูญออกไปประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังการให้ความช่วยเหลือครั้งแรกแบงค์ออฟอเมริกาก็ตั้งหลักได้ ธนาคารต้องตัดหนี้สูญไปร้อยละ 10 ของมูลหนี้ทั้งหมด ส่วนหนี้ที่เหลืออยู่อีกร้อยละ 90 นั้นได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาล โดยรัฐบาลสหรัฐได้รับผลตอบแทนเป็นหุ้นจำนวนมหาศาลในธนาคารซึ่งมีมูลค่าเท่า กับจำนวนเงินที่รัฐบาลใส่เข้าไปช่วยเหลือนั่นเอง

ส่วนวิธีการ reverse auction นั้นกลับเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากกว่า ซึ่งรัฐบาลก็ยังคงต้องเผชิญกับความเสี่ยงว่าความช่วยเหลือที่ให้ไปนั้นจะ เกิดความเสียหายขึ้นมาหรือไม่ ในกรณีของแบงค์ออฟอเมริกา รัฐบาลอาจตั้งสมมติฐานขึ้นมาว่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้นั้นน่าจะไม่ มากไปกว่าสิ่งที่แบงค์ออฟอเมริกาได้จ่ายให้กับรัฐบาล(หุ้นในธนาคาร) แต่หากว่ามูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นมันกลับกลายเป็นว่าสูงกว่าที่รัฐบาล ได้คาดการณ์กันไว้แล้ว รัฐบาลก็จะต้องแบกรับภาระความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประมาณการณ์ที่ ผิดพลาดนั้นตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้ ผลสุดท้ายก็คือว่ารัฐบาลได้จ่ายเงินภาษีอากรของประชาชนไปให้กับแบงค์ออ ฟอเมริกาสูงเกินมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ที่รัฐบาลได้รับมาเป็นการตอบ แทน รัฐบาลก็จะขาดทุนจากการลงทุนในครั้งนี้ เสียเงินงบประมาณไปกับการตัดสินใจที่ผิดพลาดของธนาคารเอกชน สุดท้ายแล้วภาระทั้งหมดก็ตกอยู่กับประชาชนผู้เสียภาษีอีกนั่นเอง ผู้เสียหายตัวจริง

ในปัจจุบันปัญหาของข้อตกลงในการแก้ไขปัญหาหนี้เน่านั้นดูเหมือนว่าจะกำลังดำเนินไปบน แนวทางในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยยืนอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดที่ว่ารัฐบาลเห็นด้วยกับการให้ความช่วยเหลือ ทางการเงินแก่นักลงทุนภาคเอกชนที่ตกลงรับซื้อหนี้เสียไว้แล้วดึงหนี้เสีย ก้อนดังกล่าวออกจากระบบบัญชีของธนาคารที่มีปัญหา นั่นคือแนวคิดพื้นฐานของมาตรการที่เรียกว่า the Public-Private Investment Program : PPIP “Pee-Pip” ที่รัฐบาลนำออกมาใช้ในปี 2009 มาตรการที่ดูเหมือนว่าจะย่ำแย่ที่สุดเท่าที่เคยมีการคิดค้นกันออกมา เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำนับล้านล้านดอลลาร์ที่ปล่อยกู้ให้กับนักลงทุนภาคเอกชนที่ ต้องการเข้าไปประมูลซื้อหนี้เน่าของธนาคาร แล้วรัฐบาลก็ทำให้ข้อตกลงมันดูดีขึ้นมาหน่อยด้วยการเสนอว่าจะใส่เงินทุนลงไป ในสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ

โชคไม่ดีที่เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำดังกล่าวของรัฐบาลไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นเลย สถานการณ์ยังคงเลวร้ายต่อไปเช่นเดิม นักลงทุนสามารถเบี้ยวหนี้ได้โดยที่รัฐไม่สามารถลงโทษอะไรได้เลย ในทางปฏิบัตินั้นนักลงทุนเองก็มีแรงจูงใจให้ตั้งราคาเสนอซื้อขายที่เกินจริง เพราะหลังจากการซื้อขายเกิดขึ้นแล้วรัฐบาลก็จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือทางการ เงิน จ่ายเงินซื้อหนี้เสียเหล่านั้นไปในภายหลัง ผลก็คือภาคเอกชนเป็นผู้ชนะและได้รับกำไรไปในช่วงที่เศรษฐกิจเดินต่อไปได้ ส่วนภาครัฐก็ต้องแบกรับภาระทางการคลังเอาไว้ในยามที่เศรษฐกิจเกิดปัญหาซึ่ง ก็คือผู้เสียภาษีนั่นเองที่เป็นผู้เสียหายตัวจริง

ดัง นั้น PPIP จึงไม่ได้ดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนได้มากนัก นั่นเป็นเพราะว่ารัฐบาลนั้นมีมาตรการให้ความช่วยเหลือภาคธนาคารด้วยวิธีการ อื่นที่ได้ผลมากกว่าอยู่แล้ว ด้วยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมากำกับดูแลการถ่ายโอนหนี้เสียออกจากระบบบัญชีของ ธนาคารที่มีปัญหา เพื่อให้สะท้อนภาพมูลค่าที่แท้จริงของราคาสินทรัพย์ตามราคาตลาด ซึ่งมาตรการนี้เป็นนโยบายที่ดีที่ช่วยป้องกันการตกแต่งตัวเลขทางบัญชีของ สินทรัพย์ให้สูงเกินของของสถาบันการเงินเจ้าของสินทรัพย์

ไม่มีมาตรการอะไรที่ทำออกมาแล้วสมบูรณ์แบบ เพียบพร้อมทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ก็มีบางมาตรการที่ทำออกมาแล้วดีกว่ามาตรการอื่นๆ โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องการแยกหนี้เสียออกมาแล้วถ่ายดอนออกไปไว้กับ bad bank วิธีการนี้คือวิธีการที่รัฐแบกรับภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาของ ธนาคารเอกชนไว้น้อยที่สุด ทั้งยังยืนอยู่บนหลักของความถูกต้อง ชอบธรรม และช่วยให้ธนาคารกลับมามีแรงจูงใจทางธุรกิจ คิดที่จะปล่อยกู้กันอีกครั้ง แต่การนำมาตรการนี้ออกมาใช้นั้นนักลงทุนต้องยอมแบกรับความเจ็บปวดบ้างอัน เนื่องมาจากการตัดหนี้สูญ และการตัดขายสินทรัพย์ออกไปในราคาขาดทุนให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ซึ่งในปัจจุบันผู้กำหนดนโยบายและนักการเมืองนั้นไม่ปรารถนาให้เกิดเรื่องแบบ นั้นขึ้น และออกหน้ามาดำเนินการแทรกแซงระบบด้วยตัวเอง โชคไม่ดีที่การแทรกแซงของนักการเมืองนั้นไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น ธนาคารค่อยๆย่ำแย่ลงไปเรื่อยๆ อาการหนักขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นผีตายซากที่ยืนหยัดอยู่ได้ด้วยกองหนี้ สาธารณะจำนวนมหาศาลของรัฐบาล

เมื่อเราย้อนกลับไปมอง ดูเรื่องมาตรการให้ความช่วยเหลืองบเงินมหาศาลในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่ภาครัฐ พยายามยื้อชีวิตครั้งแล้วครั้งเล่านี้ ใส่เงินเข้าไปอัดฉีดภาคธนาคารและสถาบันการเงินอื่น และขยายวงเงินคุ้มครองเงินฝาก ขณะที่สินเชื่อของธนาคารยังคงอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ รัฐบาลก็ต้องเข้ามาอุ้มช่วยกันต่อไปไม่ให้ตลาดสินเชื่อพังครืนลงไปอีกครั้ง ธนาคารจึงต้องดำเนินมาตรการซื้อหนี้เสียของธนาคารต่างๆหรือแนวทางอื่นๆโดย แปลงหนี้ของภาคเอกชนมาเป็นพันธบัตรรัฐบาลซึ่งมีความมั่นคง ปลอดภัย เชื่อถือได้มากกว่าในสายตาของนักลงทุน รัฐบาลก็ต้องออกมาค้ำประกันหนี้เสียของสถาบันการเงินและออกมาตรการทั้งทาง ตรงและทางอ้อมเพื่อซื้อหนี้เสียดังกล่าวไว้ เม็ดเงินที่รัฐบาลปูพรมลงมานั้นมากมายมหาศาล สูงสุดเป็นประวัติการณ์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โชคไม่ดีที่ปัญหาอุปสรรคต่างๆซึ่งรัฐบาลกำลังเผชิญอยู่นั้น มาตรการให้ความช่วยเหลือสถาบันการเงินของรัฐบาลนั้นช่วยสถาบันการเงินได้ อย่างจะแจ้ง ชัดเจน แต่กลับไม่ได้สนับสนุนให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจขึ้นเลย

สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา

ต้นทศวรรษที่ 1930 คือจุดเริ่มต้นของวิกฤติเศรษฐกิจครั้งร้ายแรง ธนาคารหลายพันแห่งในสหรัฐประสบปัญหา ภาคครัวเรือนที่จำนองบ้านไว้กับธนาคารพากันผิดนัดชำระหนี้ ตัวเลขคนว่างงานพุ่งสูงปรี๊ดปานติดจรวด ความช่วยเหลือของภาครัฐที่เกิดจากข้อตกลง New Deal ของ FDR ก็มาถึงอย่างล่าช้า เศรษฐกิจตกอยู่ภายใต้ภาวะชะงักงันอย่างต่อเนื่องยาวนาน หลายประเทศก็ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกัน เศรษฐกิจอ่อนปวกเปียกดำเินินไปเรื่อยๆตลอดช่วงทศวรรษที่ 1930 จนกระทั่งสงครามอุบัติขึ้น การฟื้นฟูประเทศที่เสียหายจากพิษภัยของสงครามจึงได้เริ่มต้นขึ้น

ขณะที่ในปัจจุบันนั้นรัฐบาลไม่ได้ปล่อยให้สถาการณ์ลุกลามขยายวงกว้างออกไปจนยากที่จะควบคุมได้ รัฐบาลสหรัฐดำเนินมาตรการต่างๆครั้งแล้วครั้งเล่าแม้จะเป็นมาตรการที่สุ่มเสี่ยงหมิ่นเหม่ ช็อคคนทั่วทั้งโลกให้ตื่นตะลึงไปกับมาตรการที่ปล่อยออกมาซึ่งเกิดจากการปรับเปลี่ยน ดัดแปลง ปรับประยุกต์บทเรียนแห่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นในช่วง the Great Depression และความล้มเหลวในการแก้ไขวิกฤติการณ์ครั้งหลังๆที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐพยายามทุกวิถีทาง ทุ่มสุดตัวเพื่อหาทางเยียวยาแก้ไขปัญหาต่างๆที่กำลังรุมเร้าเศรษฐกิจของสหรัฐอยู่ในขณะนี้ ทั้งการหยิบยืมวิถีแนวทางแบบเดิมๆที่เคยใช้ได้ผลและประดิษฐ์คิดค้นมาตรการใหม่ๆกันแบบสดๆร้อนๆ

รัฐบาลสหรัฐเลือกที่จะใช้ทั้งมาตรการทางด้านการเงินและการคลังผสมผสานกัน ระดมสรรพอาวุธทุกชนิดที่มีอยู่ปูพรมโยนใส่ลงไปสู้กับปัญหาไม่ว่าจะเป็นการลดดอกเบี้ยหรือลดภาษี แต่เมื่อรัฐบาลเห็นว่ามาตรการต่างๆดังกล่าวไม่ได้ผลและส่อเค้าว่าจะเกิดภาวะเงินฝืดขึ้น เศรษฐกิจตกต่ำทำท่าว่าจะมาเยือนสหรัฐกันแล้วจริงๆ เฟดจึงกลายเป็นที่พึ่งสุดท้ายของรัฐบาลสหรัฐ กลายเป็นแหล่งกู้ยืมเงินชั้นเยี่ยมที่มีเงินให้รัฐบาลใช้จ่ายได้ไม่อย่างไม่มีอั้นเพื่อนำเงินมาใช้ต่อลมหายใจเฮือกสุดท้ายให้กับสถาบันการเงิน จากนั้นก็ตามมาด้วยภาคธุรกิจต่างๆ ผู้ประกอบการที่จำเป็นต้องได้รับกู้เงินก้อนใหม่มาจ่า่ยคืนหนี้เงินกู้ก้อนเดิมที่ครบกำหนดชำระ ถึงเวลาไถ่ถอนตราสารหนี้รุ่นก่อนแล้ว (roll over) ขณะที่ธนาคารกลางเองก็พยายามตีความกฎหมายเข้าข้างตนเองเพื่อให้ตนเองมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น ขยายขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนเองให้กว้างขวางขึ้นเพื่อช่วยรัฐบาลสหรัฐแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นกับภาคการเงิน

ความพยายามให้ความช่วยเหลือขนานใหญ่คราวนี้คือความช่วยเหลือครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ ทั้งยังเป็นปรากฎการณ์ที่แผ่ขยายวงข้ามขอบเขตแห่งรัฐชาติ แม้แต่องค์กรระหว่างประเทศอย่างไอเอ็มเอฟยังกระโจนเข้ามาร่วมวงด้วย เฟดปล่อยเงินกู้ให้กับธนาคารกลางของประเทศต่างๆที่ต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐไปเสริมสภาพคล่อง ซึ่งเฟดก็สวมบทคนใจใหญ่ เจ้าบุญทุ่ม รับประกันว่ามีเงินดอลลาร์สหรัฐให้ธนาคารที่ประสบปัญหาและบรรษัทต่างๆทั่วโลกได้แลกใช้กันได้อย่างไม่ขาดมืออย่างแน่นอน ความช่วยเหลือที่เกิดขึ้นนี้เป็นความช่วยเหลือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน ยังดีอยู่นิดนึงที่ยังไม่ถึงกับเป็นสถิติสูงสุดตลอดกาล

ซึ่งนี่ยังคงเป็นเพียงแค่ระยะเริ่มต้น จุดเริ่มแรกแห่งวิกฤติเศรษฐกิจเท่านั้น แต่รัฐบาลสหรัฐก็ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นในภาคธุรกิจหลายแห่ง ได้ซื้อหุ้นในกิจการของเอกชนที่ประสบปัญหาต้องการการเพิ่มทุนซึ่งรัฐบาลสหรัฐก็จัดให้ด้วยการใส่เงินทุนลงไปแลกกับการถือครองหุ้นของบรรษัทต่างๆเหล่านั้นในจำนวนหุ้นที่มีมูลค่าเทียบเท่ากับเงินทุนก้อนใหม่ที่รัฐบาลใส่ลงไป จากนั้นก็ตามมาด้วยการเข้าซื้อตราสารอนุพันธ์ต่างๆที่ออกโดยธนาคาร สถาบันการเงิน และหากว่าความช่วยเหลือที่แล้วมานั้นยังไม่เพียงพอ นักลงทุนยังคงต้องสูญเสียเงินลงทุนของตนเองต่อไปจนกระทั่งมีการเปิดเผยตัวเลขออกมาอย่างเป็นทางการว่าความเสียหายที่ภาคธนาคารได้รับ ประชาชนที่เป็นเจ้าของบ้านได้รับ และอื่นๆมีมูลค่าเท่าไหร่กันแน่ รัฐบาลก็จะออกมาใส่เงินช่วยเหลือเพิ่มลงไปอีกเพื่อซื้อหนี้เสียออกมาจากระบบบัญชีงบดุลของธนาคารเพื่อให้ธนาคารที่ประสบปัญหาสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจ ปล่อยกู้ให้กับประชาชนเพิ่มเติมได้อีก

และสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในห้วงขณะเวลานี้ก็คือสารพัดเงินช่วยเหลือที่รัฐบาลควักกระเป๋าจ่ายออกมาอย่างเยอะแยะมากมายมหาศาลนั้นก็ยังคงไม่เพียงพออยู่ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเงินกู้ วงเงินที่รัฐบาลออกมาค้ำประกันทั้งในส่วนที่เป็นสินเชื่อและเงินฝาก หรือเม็ดเงินที่รัฐบาลควักกระเป๋าออกมาซื้อหนี้เสียออกจากงบดุลของธนาคาร ความเชื่อมั่นของตลาด-ผู้บริโภค-นักลงทุนก็ยังคงไม่กลับคืนมา เฟดและธนาคารกลางอีกหลายแห่งได้กลายสภาพมาเป็นนักลงทุนความหวังสุดท้ายที่ออกมารับซื้อหนี้เสียออกจากกระเป๋าของภาคเอกชนแปลงสภาพหนี้ภาคเอกชนไปเป็นหนี้ภาครัฐ และยังคงต้องใส่เงินเพิ่มลงไปเสริมสภาพคล่องให้กับเอกชนผ่านมาตรการ QE เพื่อแทรกแซงตลาดการเงินขนานใหญ่ พยายามจะสร้างดีมานด์-กำลังซื้อ-ความต้องการซื้อสินค้าและบริการต่างๆให้เกิดขึ้นให้ได้ แต่จนแล้วจนรอดความต้องการจับจ่ายใช้สอยเงินทองเพื่อซื้อหาสินค้าและบริการต่างๆก็ยังคงไม่เกิดขึ้นอยู่ดีทั้งๆที่รัฐบาลสหรัฐได้ออกมาซื้อบ้านที่ถูกยึดและตราสารทางการเงินต่างๆออกไปจากระบบชั่วคราวแล้วก็ตาม ไหนจะมีมาตรการสินเชื่อรถยนต์ไปจนถึงสินเชื่อเพื่อการศึกษาออกมาอีกเล่า แต่ตลาดก็ยังคงเงียบเหงาไ่ม่มีอะไรดีขึ้น

ผู้มีอำนาจออกกฎหมายทั้งในสหรัฐและประเทศต่างๆทั่วโลกต่างก็ทำในลักษณะเดียวกัน มีการตั้งกองทุนขึ้นมาสารพัดรูปแบบเพื่อดำเนินมาตรการในลักษณะดังกล่าวที่ว่าไว้ เสนอความช่วยเหลือให้กับเจ้าของบ้าน และสิ่งที่เป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือการอนุมัติให้รัฐบาลจัดทำงบประมาณขาดดุลนับล้านล้านดอลลาร์เพื่อใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ออกมาตรการต่างๆทั้งนโยบายเก่าแก่ดั้งเดิมสุดคลาสสิคอย่างการซ่้อม-สร้าง-ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้นไปจนถึงการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ ตั้งแต่รัฐบาลท้องถิ่นไปถึงคนตกงาน

มาตรการทางการเงิน-การคลังทั้งหลายทั้งปวงนี้ถูกโยนใส่ลงไปในระบบเศรษฐกิจที่ดำเนินมาแล้วกว่า 2 ปี เม็ดเงินจำนวนมากมายมหาศาลนำมาซึ่งการฟื้นตัวอย่างเปราะบางของระบบเศรษฐกิจ ตามมาด้วยข้อสงสัยเยอะแยะมากมาย การถกเถียงกันในวงกว้าง ทุนนิยมยังคงไม่ล่มสลาย ชะตากรรมของไอซ์แลนด์ก็ยังคงเป็นได้แค่เพียงชะตากรรมของไอซ์แลนด์ยังไม่ลุกลามขยายวงกว้างออกไปจนกลายเป็นชะตากรรมโลก มาตรการต่างๆที่ธนาคารกลาง รัฐบาล และผู้มีอำนาจออกกฎหมายนำมาใช้จะนำพาเศรษฐกิจที่กำลังอยู่ในภาวะวิกฤตินี้ไปสู่ฉากจบแบบไหน อย่างไร ภายนอกผิวเผินที่ดูเหมือนจะสงบราบรื่นไร้คลื่นลมนั้น ภายในยังคงเป็นบาดแผลที่ยังไม่แห้งหายสนิท ยังคงสร้างความปวดระบมให้กับผุ้คนอยู่ต่อไป แม้ตัวเลขทางเศรษฐกิจในปี 2009 จะออกมาดีกว่าที่หลายคนคาดคิดคำนวณไว้ แล้วปีต่อๆไปหลังจากนั้นเล่าจะยังดุดี ดูได้อยู่หรือเปล่า ฉากจบนั้นใกล้เข้ามาทุกทีๆแล้ว

ข่าวดีผ่านไป ถึงคราวของข่าวร้ายกันบ้าง เสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนั้นแลกมาด้วยต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงมากๆ ขอบคุณสำหรับสารพัดเงินช่วยเหลือที่ออกมาหลากหลายรูปแบบ ทั้งการค้ำประกันสินเชื่อ ค้ำประกันเงินฝาก แผนการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และอีกสารพัดมาตรการที่ภาครัฐทุ่มระดมทุนควักเงินออกมาจากกระเป๋าเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น หนี้สาธารณะของสหรัฐกำลังพุ่งทะยานเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับจีดีพี การขาดดุลงบประมาณก็ใกล้จะทะลุ 9 ล้านล้านดอลลาร์กันแล้วในอีกไม่ช้าไม่นาน นี่คือวิธีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในแบบของเคนส์ซึ่งเคยใช้ได้ผลมาแล้ว สหรัฐอเมริกาก็เคยขาดดุลงบประมาณมากมายมหาศาลมาแล้วจากข้อตกลง New Deal และสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งรัฐบาลสหรัฐก็สามารถจ่ายเงินชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้อย่างสบายๆไม่มีปัญหาอะไร ปี 1946 สหรัฐอเมริกามีหนี้สาธารณะสูงถึง 122% ของจีดีพี นี่เป็นสถิติสูงสุดตลอดกาลของสหรัฐอเมริกา และในตอนนี้หนี้สาธารณะของสหรัฐก็กำลังจะแต่ะระดับ 90% ของจีดีพีและแน่นอนว่าไม่ได้หยุดอยู่แค่ร้อยละ 90 เท่านั้นแน่ ทะลุและพุ่งต่อไปเรื่อยๆอย่างแน่นอน

แต่บริบทแวดล้อมสหรัฐในปี 1946 ก็ไม่เหมือนกับสภาพสหรัฐอเมริกาที่เป็นอยู่ในห้วงขณะนี้ ปี 1946 นั้นสหรัฐอเมริกากำลังรุ่งเรือง กำลังจะพุ่งทะยานไปสู่จุดสูงสุด สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้า สหรัฐอเมริกาไม่ได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นสิ่งที่ใครต่อใครเห็นแล้วต่างก็พากันอิจฉาตาร้อน ส่วนคู่แข่งสำหรับของสหรัฐในเวลาต่อมาคือญีปุ่นและเยอรมันนั้นพังพินาศยับเยินจากพิษภัยของสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกากลายเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของหลายประเทศทั่วโลก สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีความน่าเชื่อถือด้านเครดิตสูงสุด มีงบประมาณที่เกินดุล ได้ดุลการค้าจากการค้าขายกับต่างประเทศ ดอลลาร์สหรัฐกลายเป็นทุนสำรองของโลก ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจแต่อย่างใดที่สหรัฐสามารถชำระหนี้ 122% ของจีดีพีได้อย่างสบายๆ แต่สภาพสหรัฐในปัจจุบันนั้นผิดไปจากปี 1946 เป็นอย่างมาก ภาคการผลิตของสหรัฐอ่อนแอมาก สหรัฐเป็นลูกหนี้รายใหญ่ของโลก สหรัฐขาดดุลการค้า สหรัฐขาดดุลงบประมาณจำนวนมาก ขอบคุณจีนคู่แข่งสำคัญในอนาคตข้างหน้าของสหรัฐที่ให้สหรัฐกู้ยืมเงินเป็นจำนวนมาก สหรัฐวันนี้ไม่เหมือนสหรัฐในปี 1946 สหรัฐในวันนี้ไม่อยู่ในฐานะที่จะจ่ายคืนหนี้เงินกู้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆได้ง่ายๆสบายๆอย่างในอดีต ความเป็นชาติมหาอำนาจ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงลดน้อยเสื่อมถอยลงไปเรื่อยๆกันต่อไป

รัฐบาลสหรัฐตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการใช้มาตรการทางด้านการคลัง และนี่ยังคงเป็นเพียงแค่จุดเิริ่มต้น ระยะเริ่มแรกของวิกฤติการณ์เท่านั้น ยังมีเงื่อนไข เหตุปัจจัยอีกมากมายที่พันผูก ทับซ้อนกันจนยุ่งเหยิงอยู่ภายในตัววิกฤติการณ์ รัฐบาลต้องจับตามองดูจุดที่เป็นปัญหาแล้วใส่เงินป้อนลงไปในจุดนั้น แต่สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐไม่คิดที่จะทำคือการแปรรูปธนาคารที่มีปัญหาเป็นธนาคารรัฐ(nationalize) สิ่งที่รัฐบาลทำจึงเป็นแต่เพียงการใส่เงินลงไปชดเชยในส่วนของทุนที่ได้รับความเสียหายกลายเป็นหนี้เสีย-หนี้สูญ จากนั้นก็ปล่อยให้ธนาคารดำเนินกิจการกันต่อไป แล้วธนาคารก็ยังคงล้มละลายกันต่อไป ความช่วยเหลือที่รัฐบาลมอบให้กับ good bank และ bad bank นั้นก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน ไม่ได้สร้างความแตกต่างอะไรให้เกิดขึ้น ดังนั้นเสถียรภาพของระบบการเงินจึงยังคงเป็นประเด็นที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้รัฐบาลสหรัฐต้องตามแก้กันต่อไป

อาจกล่าวได้ว่าความช่วยเหลือทั้งหลายทั้งปวงนั้นมุ่งไปที่ผู้เป็นเจ้าของบ้าน ผู้ผลิตรถยนต์ และผู้ได้รับประโยชน์อื่นๆตามที่รัฐบาลจะเห็นว่าเป็นการสมควรที่จะได้รับความกรุณาจากรัฐบาล วิกฤติการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นยังคงกัดเซาะบ่อนทำลายระบอบทุนนิยมกันต่อไปเรื่อยๆ ค่อยๆแทะเล็มกัดกินทีละเล็กทีละน้อย วิธีที่จะป้องกันปัญหาที่ไม่แตกปะทุระเบิดขึ้นมาอีกครั้งอย่างที่รัฐบาล ผู้มีอำนาจกำลังทำๆกันอยู่ก็คือการลดภาษี การจ่ายคูปองเงินสดเพื่อกระุต้นให้เกิดการใช้จ่าย และมาตรการกระตุ้นตลาดที่พักอาศัยแต่มันก็ให้ผลลัพธ์ออกมาแค่การชะลอการล่มสลายที่กำลังจะเกิดขึ้นให้เกิดขึ้นช้าลงเท่านั้นเอง(ทฤษฎีของ Schumpeter) ขณะที่วิกฤติเศรษฐกิจกำลังดำเนินไปเรื่อยๆนั้น หากมาตรการที่กำหนดออกมาใช้แก้ไขปัญหาทำได้ตรงจุดปัญหาก็จบ แต่หากมาตรการต่างๆที่กำหนดออกมาไม่ถูกต้อง แก้ไขปัญหาไม่ได้ก็เท่ากับว่านี่คือการเติมเชื้อไฟใส่ลงไปเร่งวิกฤติการณ์ให้หนักขึ้น เร็วขึ้น แรงขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการตัดหนี้สูญให้กับลูกหนี้ซึ่งส่งผลกระทบต่องบดุลและฐานะเงินกองทุนของธนาคาร หรือการปิดกิจการของผู้ผลิตรถยนต์ และการทิ้งจำนองปล่อยให้บ้านถูกยึดของผู้เป็นเจ้าของบ้านที่ประสบปัญหาในการผ่อนชำระค่าบ้านให้กับสถาบันการเงิน

ซึ่งมาตรการต่างๆที่รัฐบาลนำออกมาใช้นั้นแตกต่างจากมาตรการของเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ในช่วงที่วิกฤติเศรษฐกิจพึ่งจะเริ่มต้นขึ้นไม่มากนัก แน่นอนว่าวิธีการป้องกันไม่ให้วิกฤติเศรษฐกิจลุกลามขยายวงออกไปจนไม่อาจควบคุมได้นั้นมีอยู่มากมายด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายทางด้านการคลัง แต่สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในปัจจุบันนั้นก็เหมือนกับสิ่งที่ฮูเวอร์ทำในช่วงแรกๆก็คือการพยายามประนีประนอมกับปัญหาที่ไม่อาจจะประนีประนอมด้วยได้ เหมือนกับว่าเรามีเค๊กอยู่ก้อนหนึ่งซึ่งเราต้องเลือกว่าจะเก็บเค๊กก้อนนี้ไว้หรือว่าจะกินมันดี เราไม่สามารถช่วยเหลือคนที่กำลังเดือดร้อนเพราะการตัดสินใจที่ผิดพลาดท่ามกลางภาวะวิกฤติได้ทุกคนพร้อมๆกับการพยายามฟื้นฟูระบอบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมแบบที่เป็นอยู่ให้ดำเนินต่อไปได้เรื่อยๆ นี่คือความจริงอันโหดร้ายที่เราต้องทำใจยอมรับมันและตัดสินใจว่าจะเลือกอะไร แบบไหน อย่างไร จึงจะมีคนสักกลุ่มหนึ่ง กึ่งหนึ่ง หรือเกือบทั้งหมดที่สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้

การแก้ไขปัญหาแบบลองผิดลองถูกก็คือการทำลายขวัญกำลังใจของผู้คนให้ลดน้อยถอยลงไป ทำให้คนทั่วไปขาดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ-การผลิต-การลงทุน-การบริโภค เมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาธนาคารกลางภายใต้การกุมบังเหียนของอลัน กรีนสแปนได้แทรกแซงตลาดในช่วงที่เกิด “the saving and loan crisis” ขึ้นในปี 1987 และ 9-11 โศกนาฏกรรมช็อคโลกจากน้ำมือของกลุ่มอัลกอดิดะห์ วิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้คือบททดสอบความเชื่อของกรีนสแปน(หรือเบอร์นันเก)ว่าสถาบันการเงิน(เลห์แมน บราเธอร์ส)ล้มได้หรือไม่ ธนาคารกลางและรัฐบาลสหรัฐมีอำนาจล้นฟ้าขึ้นในชั่วพริบตา แต่แล้วในที่สุดก็ไม่อาจสะกัดยับยั้งทำลายวงจรการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจให้จบสิ้นไปได้

เมฆหมอกที่แผ่ปกคลุมเราอยู่นี้ยังพอมีแสงสว่างเล็ดลอดออกมาให้เราได้เห็นกันอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น ยังมีอีกหลายประเทศที่ดุลบัญชีของประเทศยังคงเข้มแข็ง มีหนี้สาธารณะอยุ่ในระดับต่ำซึ่งช่วยชะลอให้ประเทศนั้นๆรอดพ้นจากพิษภัยของวิกฤติเศรษฐกิจไปได้ในระยะเวลาหนึ่ง มีเวลาให้ประเทศนั้นๆได้หายใจหายคอ ตั้งสติ คิดหาวิธีการรับมือ โยกย้ายเม็ดเงินงบประมาณมากระตุ้นเศรษฐกิจที่พลอยได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศหดตัวได้ เม็ดเงินเหล่านนี้ถูกนำมาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศแทนการส่งออกซึ่งก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลประเทศต่างๆทำกันทั่วไปทั่วทุกมุมโลก ซึ่งนี่คือต้นทุนระยะยาวที่จะส่งผลต่อประเทศต่างๆในระยะต่อๆมาอันเนื่องมาจากการปรับลดภาษีที่จะส่งผลให้รายได้ของประเทศปรับตัวลดลงขณะที่รายจ่ายของภาครัฐปรับเพิ่มขึ้นสวนทางกับรายได้ รัฐบาลต้องใช้เงินงบประมาณที่มากขึ้นเพื่อช่วยเหลือแรงงานที่ต้องตกงานกันเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในด้านอื่นๆ นโยบายการคลังที่หลายประเทศนิยมนำออกมาใช้กันนั้นสร้างภาระหนี้ให้กับประเทศ รอเวลาที่ปัญหาหนี้สินของภาครัฐจะแตกปะทุออกมาแบบเดียวกันที่กำลังจะเกิดขึ้นกับชาติอุตสาหกรรมชั้นนำ เมื่อถึงจุดๆหนึ่งหนี้สาธารณะจะกลายเป็นปัญหาหนักอกที่สร้างความวิตกกังวลให้กับนักลงทุนต้องคิดให้ตก ตัดสินใจให้ดีว่ารัฐบาลประเทศนั้นๆยังคงสามารถบริหารหนี้สาธารณะที่มีอยู่และกำลังเพิ่มระดับขึ้นไปเรื่อยๆได้อยู่หรือไม่ และความเสี่ยงในการรีไฟแนนซ์หนี้ที่ครบกำหนดชำระด้วยการก่อหนี้ก้อนใหม่เพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งเืมื่อไหร่ก็ตามที่มีการเปิดเผยข้อมูลตัวเลขส่วนนี้ออกมาก็จะกลายเป็นปัญหาก้อนใหม่ให้กับโลกการเงินในระยะต่อๆไปในทันที

สิ่งที่เป็นปัญหาที่ใหญ่โตกว่านั้นก็คือเงินช่วยเหลือและความเชื่อมั่นซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อน เงินช่วยเหลือที่ผู้ให้กู้ปล่อยออกมาแบบไม่ดูตาม้าตาเรือ ไม่พิจารณาให้ถี่ถ้วนรอบคอบ ผู้กู้เองก็สักแต่ว่ากู้โดยไม่พิจารณาดูให้ดีว่าจะกู้มาทำอะไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด กู้แบบไร้สำนึกรับผิดชอบจะเพาะสร้างนิสัย พฤติกรรมเลวร้ายที่เป็นหนทางสู่ความวิบัติได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างฟองสบู่หรือการซ้ำเติมวิกฤติเศรษฐกิจให้หนักหนาสาหัสยิ่งขึ้นกว่าเดิม สำคัญที่สุดที่ต้องพิจารณากันให้ถ้วนถี่ก็คือความเชื่อมั่น จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ หากเราปล่อยปละละเลยเรื่องวินัย จริยธรรม ความเชื่อมั่นแล้วสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็จะย้อนกลับมาทำร้ายเราเองในภายหลัง เหมือนๆกับการที่เรามีกระทาชายนายหนึ่งอาศัยอยู่ร่วมกับเราในอพาร์ตเมนต์่ขนาดใหญ่ กระทาชายนายนี้เป็นคนเห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจตัวเอง ใจร้อน สะเพร่า ประมาทเลินเล่อ ขี้หลงขี้ลืม หลงหน้าหลงหลัง โง่เขลาเบาปัญญา วันหนึ่งกระทาชายนายคนนี้ก็นอนเอกเขนงสูบบุหรี่อยู่บนเตียงด้วยความคุ้นชินกับความประมาทเลินเล่อ เป็นเรื่องล่ะสิคราวนี้พี่แกวางบุหรี่ไว้บนที่เขี่ยบุหรี่ซึ่งวางอยู่บนเตียงอย่างหมิ่นเหม่แล้วลุกขึ้นจากเตียงไปเข้าห้องน้ำ บุหรี่หล่นร่วงออกจากที่เขี่ยบุหรี่ตกลงไปบนผ้าห่มเกิดเพลิงลุกไหม้ กว่านายคนนี้จะรู้ตัวเพลิงไฟก็ได้เผาพลาญเชื้อไฟจนลุกลามบานปลายเกินกว่าจะสะกัดยับยั้งต้นเพลิงได้ทันแล้ว ในอพาร์ตเมนต์นั้นก็ยังมีคนอื่นๆอยู่ด้วยอีกเยอะแยะมากมาย อัคคีเพลิงลุกลามไปทั่วทั้งทางเข้าออกและทางหนีไฟ ไม่มีใครสามารถวิ่งฝ่าเปลวเพลิงที่สกัดทางหนีออกมาได้ แล้วเราจะทำอย่างไร

เปรียบเหมือนกับธนาคารกลางและรัฐบาลที่กำลังเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจกันอยู่ในขณะนี้ ธนาคารเพื่อการลงทุนหรือบริษัทประกันชีวิต-ประกันภัยกำลังถูกอัคคีเพลิงเผาผลาญจนวอดวาย เราจะช่วยสถาบันการเงินต่างๆเหล่านี้กันอย่างไร แน่นอนว่าเราต้องช่วยสถาบันการเงินต่างๆเหล่านี้ แต่ผลพวงของอัคคีเพลิงที่เกิดขึ้นนั้นได้เผาผลาญระบบการเงินจนวอดวายไปแล้ว ไม่นับรวมชีวิตคนทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินอีกมากมายนับไม่ถ้วนทั่วทุกมุมโลกที่พลอยฟ้าพลอยฝนได้รับผลกระทบ ถูกทำลายอาชีพการงานไปด้วย ทุกคนล้วนได้รับบทเรียน เจ็บปวด สูญเสียจากมหันตภัยที่เกิดขึ้นไม่มากก็น้อยแตกต่างกันไป ขณะที่ความช่วยเหลือที่ได้รับจากนโยบายการคลังนั้นก็สูญเปล่า ไม่ได้ผล และเงินช่วยเหลือเองก็เข้าไม่ถึงคนที่ลำบากเดือดร้อน การใช้นโยบายการคลังกระตุ้นการใช้จ่ายที่เคยประสบความสำเร็จในการปกป้อง ช่วยเหลือระบบการเงินจากหายนะภัย the Great Recession ก็กำลังจะนำพาเราไปสู่ the Great Depression ครั้งใหม่อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความต้องการในการบริโภคสินค้าและบริโภคของภาคเอกชนยังคงหดหายถูกทำลายให้ร่วงหล่นลงไปเรื่อยๆ อย่างไร้รูปแบบ ไร้ทิศทาง (freefall)

ณ ห้วงขณะเวลานี้นั้นคือช่วงเวลาที่เราต้องแก้ปัญหาเรื่อง moral hazard และความอ่อนแอเปราะบางในทุกมิติที่เกิดขึ้นกับระบบสถาบันการเงินซึ่งต้องทำหลังจากที่เราได้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ลุล่วงผ่านพ้นไปได้แล้ว วิกฤติเศรษฐกิจเป็นมหันตภัยอันเลวร้ายที่น่าสะพรึงกลัวซึ่งเมื่อมันเริ่มต้นเปิดฉากขึ้นมาแล้วก็จะลุกลามขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ เราต้องหยัดยืนยอมรับความจริง ยอมรับความเจ็บปวด กัดฟันฝืนทนปฏิรูประบบการเงินที่เสียรูป เสียทรง เสียสมดุลย์ให้กลับมาเข้ารูปเข้ารอยให้ได้อีกครั้งหนึ่ง ดั่งเช่นที่ the Great Depression ได้กวาดเอาคำวิพากษ์วิจารณ์ การโต้แย้งถกเถียงของฮูเวอร์ทิ้งไปแล้วถูกแทนที่ด้วยทฤษฎีใหม่ของเคนส์อย่างเต็มรูปแบบ the Great Recession ที่กำลังดำเนินไปนี้ก็เช่นกันมันจะนำมาซึ่งแนวทางความคิดใหม่ๆ ความรู้ ความเข้าใจแบบใหม่ๆ เทคนิควิธีการแก้ไขปัญหาแบบใหม่ที่ได้ผลซึ่งช่วยปกปักรักษา เยียวยา และป้องกันวิกฤติเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นต่อๆไปในภายหลังได้

ใส่ความเห็น

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑